วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุปความต้องการของผู้บริโภค 2013





ที่มา http://www.wipo.int/reference/en/

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องยื่นเพื่อจดทะเบียนเหมือนกับสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า แต่ก็สมควรยิ่งที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยื่นจดอย่างเป็นทางการกับสำนักงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะหากคุณมีแผนที่จะใช้งานลิขสิทธิ์ในทางการค้า เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะกีดกันผู้อื่นจากการคัดลอก การจำหน่าย การแสดง การเผยแพร่ภาพ หรือการใช้เนื้อหามาดัดแปลง หรือใช้ค้าขายในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของสิทธิ งานที่มีลิขสิทธิ์ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณควรเรียนรู้เพื่อการปกป้องและใช้สิทธิของคุณได้อย่างเต็มที่
โดยทั่วไปแล้ว “งานสร้างสรรค์ที่ผ่านกระบวนการคิด”จะได้รับการคุ้มครองอย่างอัตโนมัติตั้งแต่แรกวันที่เจ้าของได้สร้างสรรค์ขึ้นมา และมีอายุถึง 50 ปีหลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต หากเป็นงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของนิติบุคคล งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 50 ปีหลังจากวันแรกที่ได้ทำการเผยแพร่
ยึดตามมาตรา 4 ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของราชอาณาจักรไทย งานที่มีลิขสิทธิ์ประกอบไปด้วย 9 ประเภท
  1. งานวรรณกรรม (รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  2. งานการแสดง
  3. งานวิจิตรศิลป์ ศิลปกรรม
    • ภาพวาด
    • ประติมากรรม
    • งานพิมพ์
    • งานตกแต่งสถาปัตย์
    • ภาพถ่าย
    • ภาพวาดเขียน แผนที่ ภาพร่าง
    • งานประยุกตศิลป์ (งานประยุกตศิลป์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากวันจัดสร้าง)
  1. งานดนตรี
  2. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)
  3. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
  4. งานภาพยนตร์
  5. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  6. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ


วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์


ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
         1. ความรู้ (Knowledge) การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้ เกี่ยว กับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น
         2. ความริเริ่ม (Initiative)  ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วย ตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง ความ ริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า
         3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness) ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกายวาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย
         4. การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations) ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้
         5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty) ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
         6. มีความอดทน (Patience) ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง
         7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness ) ความ ตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ ความ ตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง
พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)
          8. มีความภักดี (Loyalty) การ เป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
          9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผลความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ
คุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
          การศึกษาภาวะผู้นำจากคุณลักษณะของผู้นำ (Leader Traits) เป็นวิธีการศึกษาวิธีแรกสุด แต่เนื่องจากการศึกษาไม่สามารถยืนยันได้ว่าคุณลักษณะ (Trait) แต่ละคุณลักษณะของ ผู้นำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาวะผู้นำได้ จึงได้เปลี่ยนแนวทางการศึกษาไปที่พฤติกรรมหรือแบบของผู้นำในเวลาต่อมา
          คุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ในระยะเริ่มแรกของการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำ เหล่านักจิตวิทยาและนักวิจัยได้พยายามแยกแยะคุณลักษณะส่วนตัวของผู้เป็นผู้นำ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ติดตัวผู้นำมาตั้งแต่เกิด มิใช่สิ่งที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดขึ้นภายหลัง โดยมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้นำย่อมมีคุณลักษณะบางประการที่แตกต่างไปจากผู้ตาม การศึกษาได้เน้นไปใน 2 ประเด็น คือ
          การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำกับผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ และ การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จกับผู้นำที่ไร้ประสิทธิภาพ หรือไม่ประสบความสำเร็จ การศึกษาเปรียบเทียบใน 2ประเด็นข้างต้นนี้ ได้พิจารณาคุณลักษณะใน 3 ด้าน คือ
        • คุณลักษณะด้านกายภาพ
        • ด้านสติปัญญา
        • ด้านบุคลิกภาพของผู้นำ
        สต๊อกดิล (Stogdill, 1948) ได้ทบทวนการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่ทำระหว่างปี ค.ศ.1904 - 1948 จำนวน 124 เรื่อง และสรุปคุณลักษณะของผู้นำที่ช่วยให้กลุ่มสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ดังนี้คือ
        1. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
        2. ความพร้อม (Alertness to the need of others)
        3. ความเข้าใจในงาน (Understanding of the task)
        4. ความริเริ่มและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา (Initiative and persistance in dealing with problems)
        5. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
        6. ความต้องการที่จะรับผิดชอบ (Desire to accept responsibility)
        7. ความเหนือกว่าและสามารถควบคุม (Occupy a position of dominance and control)
          อย่างไรก็ตาม การที่ผู้นำจะมีคุณลักษณะอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย ดังที่สต๊อกดิล (Stogdill, 1948 : 46) สรุปไว้ดังนี้
"ผู้ที่จะเป็นผู้นำคนอื่นมิใช่สามารถจะเป็นได้โดยการอาศัยแต่เพียงการมีคุณลักษณะทางกายภาพและบุคลิกภาพของผู้นำนั้น เพราะว่าคุณลักษณะของผู้นำจะมีความสัมพันธ์หรือเข้ากันได้กับลักษณะ กิจกรรมและเป้าหมายของผู้ตามด้วย" การศึกษาคุณลักษณะในช่วงนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นให้ความสนใจว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมีคุณลักษณะเฉพาะใดบ้าง หากแต่ศึกษาอย่างกว้าง ๆ หาคุณลักษณะของผู้นำที่แตกต่างจากบุคคลอื่นๆ ในองค์การต่าง ๆ ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เมื่อศึกษาเฉพาะแต่ละคุณลักษณะ ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีความสัมพันธ์ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จ
         การศึกษาในระยะนี้พบว่าผู้นำที่มีคุณลักษณะเฉพาะบางอย่างอาจจะประสบความสำเร็จในสถานการณ์หนึ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จในสถานการณ์อื่น ผู้นำที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันก็สามารถประสบความสำเร็จในสถานการณ์เดียวกันได้ ในปี ค.ศ.1974 สต๊อกดิลได้เขียนหนังสือ Handbook of Leadership เสนอการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำจากงานวิจัย จำนวน 163 ฉบับ ที่ทำขึ้นระหว่าง ค.ศ.1949 - 1970 การศึกษาทั้ง 163 ฉบับนี้ มีความแตกต่างกันทั้งวิธีการและขอบเขตของความสนใจของงานวิจัย
นอกจากจะศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ ยังศึกษาถึงทักษะด้านเทคนิคด้านการจัดการ รวมทั้งแรงจูงใจในการจัดการด้วย ความแตกต่างในวิธีการและความสนใจ แต่ผลของการศึกษายังได้คุณลักษณะเหมือนเดิม ยิ่งส่งผลให้คุณลักษณะที่พบเป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเสริมสร้างประสิทธิภาพของผู้นำ แม้นจะไม่มีการรับประกันก็ตาม
ผู้นำที่ดีมี  3 ลักษณะคือ ผู้นำงาน ผู้นำชีวิต และ ผู้นำจิตใจ
              ผู้นำงาน   มี คิดงานเป็น บอกงานได้ เข็นงานเก่ง และเร่งแก้ไขปรับปรุง 
ผู้นำชีวิต   ที่มีผลต่อลูกน้อง มีดูแลชีวิต คิดหาหลักประกันครอบครัว  และชี้แนะด้านชีวิต
              ผู้นำจิตใจ   ทีมี่ต่อลูกน้องเพื่อครองใจลูกน้อง              มี คำนึงถึงจิตใจลูกน้อง ปกครองด้วยความเป็นธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเป็นกันเอง สร้างความอบอุ่นใจ และเอาใจเขามาใส่ใจเรา
คุณสมบัติผู้นำที่ดี มี 10 อย่าง  คือ
        หูหนัก (ไม่เชื่อใครง่าย)
        ปรับยอด (เน้นระเบียบวินัย) 
        ปลอดผิด (ไม่ทำผิดระเบียบ)
        คิดเป็น (คิดดีคิดชอบ)
        เห็นไกล (มีวิสัยทัศน์)
        ใช้ธรรมะ (ใช้หลักธรรมในการปกครอง) 
        นำตรง  (พาหมู่คณะไปสู่ทิศทางความเจริญ )
        คงงาน (แนะนำงาน กำกับดูแล)
        หาญใหญ่ (ใจกล้าเผื่อแผ่)
        และใจถึง (กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ปกป้องลูกน้อง กล้ามอบหมาย กล้ารับผิด)
คุณสมบัติผู้นำที่ด้อย มี 10 อย่าง  คือ
        หูเบา (เชื่อคนง่าย ขาดความยุติธรรม)
        เข้าข้าง (ลำเอียงไปที่ตัวเองและพวกพ้อง)
        วางโต (อวดรู้ อวดเก่ง เบ่งกล้าม ข่มขู่)
       โง่งม (ไม่ยอมรับว่าตนเองผิด หลงตัวเอง หลงทาง ไม่ยอมปรับเปลี่ยน)
       ซ่อนงาน (ไม่ยอมสานต่องานจากคนอื่น ทำให้งานไม่ต่อเนื่องหยุดชะงัก )
       ผลาญเงิน ( ไม่รู้จักการประหยัด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย)
       เดินผิด (ยิ่งเดิน ยิ่งไกล ยิ่งเข้าใกล้ยิ่งห่างหาย คนเตือนก็ไม่รับฟัง)
       จิตฟุ้ง (ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หวั่นไหวตามสถานการณ์)
       มุ่งได้ (เอาแต่ประโยชน์ ไม่ยอมเสียสละ)
       และขายเพื่อน (เอาดีใส่ตัว  เอาชั่วใส่คนอื่น)
ผู้นำแบบใดล่ะที่เหมาะสมกับยุคนี้
        Dr.Casper แกบอกว่า ผู้นำยุคที่ "only the fittest survive" หรือยุคที่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดจึงจะอยู่รอดเช่นในปัจจุบันนี้ จะต้องมีคุณสมบัติ (ผมว่าขั้นต่ำ) 3 เรื่องต่อไปนี้ครับ
        1) ต้องดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและความซื่อสัตย์  ที่เน้นคุณสมบัติในเรื่องของความซื่อสัตย์และเกียรติยศนี้ ก็เพราะโลกในยุคใหม่ แต่ละคนต่างก็มีความเป็นตัวของตัวเองสูง หรือเป็นผู้นำตัวเองได้ ดีบ้าง เก่งบ้างแตกต่างกันไป  ผู้นำจึงต้องพัฒนาตัวเองมาเป็น "leaders of the leaders"
        ในยุคนี้ ผู้นำแบบอำนาจนิยม ชอบบังคับ ข่มขู่ ดูถูกว่าคนอื่นด้อยกว่า หรือคนอื่นฉลาดไม่เท่าตัวเอง หรือนิยมรวบอำนาจไว้กับตัวเองนั้น จะเป็นกลุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จได้เลย ผู้นำที่ดี จึงต้องรู้จักให้เกียรติลูกน้อง และสอนให้มีการให้เกียรติซึ่งกันและกันในที่ทำงาน ไม่ใช่อยากได้อะไรก็ด่าเอา รวมทั้งมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ สร้างความเคารพและความไว้วางใจกันให้เกิดขึ้น ให้ลูกน้องได้รู้สึกว่า เขาได้รับการปฏิบัติอย่างใหเกียรติและจริงใจ เรื่องเหล่านี้ล่ะครับ สามารถทำให้เกิดความจงรักภักดีของคนต่อองค์การ ผูกใจคนให้ทำงานร่วมกัน รักและสามัคคีกัน บรรยากาศในการทำงานก็ดีตามไปด้วย
        คราวนี้ โดยธรรมดาแล้ว ผู้นำก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของลูกน้อง ก็ไม่เป็นเรื่องแปลกครับ เพียงแต่ว่า ควรจะต้องทำด้วยความจริงใจ และถูกต้อง เกื้อกูลซึ่งกันและกันสมมติว่า เจ้าของธุรกิจที่มาเป็นผู้นำองค์การ แต่เป็นแบบอำนาจนิยมที่ว่านั้น จะทำอย่างไร ผมคงตอบอะไรไม่ได้หรอกครับ คงต้องตัวใครตัวมัน หรือยึดคติว่า "หากทำงานกับเขาแล้วไม่สบายใจ เราก็ลาออกไปเสียดีกว่า..."
        2) ต้องมีวิสัยทัศน์  ผู้นำจะต้องสามารถสร้างวิสัยทัศน์ที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ น่าเชื่อถือ สอดคล้องกับศักยภาพขององค์การตามสถานการณ์ ท้าทายและดึงดูดใจให้คนทำมันให้สำเร็จ นำไปสู่มาตรฐานการทำงานที่สูงขึ้น โดยที่วิสัยทัศน์ขององค์การเองก็ต้องมองการณ์ไกล เข้าใจง่าย โดยครอบคลุมในลักษณะกว้าง ๆ วิสัยทัศน์ที่ดีที่เกิดจากผู้นำนั้น จะต้องมองในเรื่องของการใช้ทรัพยากรขององค์การ โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การที่จะทำแบบนี้ได้ ผู้นำเองก็ต้องมีบทบาทหนึ่งในการกระตุ้นให้พนักงานทุ่มเทในการทำงานอย่างสุดความสามารถ
        3) ผู้นำต้องมีวิญญาณของความเป็นเด็ก (the heart of child)  วิญญาณของความเป็นเด็กนั้น คือ การมองโลกในแง่ดี คิดด้านบวก ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ บนพื้นฐานของจิตสำนึกบริสุทธิ์ ไม่เอาแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องมีความอยากรู้อยากเห็น แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ มาเติมเต็มให้ตัวเองอย่างกระตือรือร้น เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนมันให้เป็นโอกาสให้ประสบการณ์ โดยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหามากกว่าหาตัวผู้กระทำผิด เพราะนั่นเป็นการบ่อนทำลายขวัญกำลังใจของพนักงานอย่างที่ท่านอาจจะไม่คาดคิด
คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหาร และผู้นำที่ดี
        1. การเป็นผู้รู้จักตนเอง(Self realization)
             • รู้ถึงความต้องการแห่งตน
             • รู้ถึงวิธีการสร้างเป้าหมายแห่งตน ไม่ว่าในชีวิตส่วนตัว หรืองาน
             • รู้ถึงขีดความสามารถแห่งตน ที่จะกระทำการใดๆ ได้เพียงใด
             • รู้ถึงวิธีการควบคุมตนเอง การมีวินัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
             • รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตน และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น
             • รู้ว่าตนจะต้องลงทุนอะไร เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต้องการ
             • รู้สึกได้ถึงความสุข ความทุกข์ ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้ไดมาชี้นำ
             • ยอมรับความจริงได้ทุกอย่าง ไม่หลอกตัวเอง 
        2. การเป็นผู้รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytical Mind)
             • มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง คิดถึงที่ไป ที่มา ไม่ใช่แค่ที่เห็น
             • มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย (Cause) และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา (Consequence) ในปัจจุบัน และในอนาคตได้
             • เป็นผู้ที่ตั้งคำถามตลอดเวลา "ใคร (Who)? ทำอะไร (What)? ที่ไหน (Where)? เมื่อไร (When)?ทำไม (Why) อย่างไร (HOW)? " (5-W 1H)
             • เข้าใจถึง หลักการ "อริยสัจ" ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี
             • เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ให้ความสนใจในรายละเอียดเพื่อเก็บมาเป็นข้อมูล
             • มองพฤติกรรมบุคคล (Person) เหตุการณ์ (Event) สามารถโยงถึง หลักการ (Principle) ได้ และ ใช้หลักการ (Principle) สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ์ (Event) ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Person) ให้อยู่ภายไต้การควบคุมได้ 
        3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล (Life Long Learning)
             • มีความรู้สึกว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก และตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา
             • เข้าใจดีกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้สิ่งที่เคยรู้เมื่อวันวานอาจไม่ใช่ในวันนี้อีกต่อไป
             • มองเห็น สิ่งของ ผู้คน เหตุการณ์ เป็นสื่อสอนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี หรือสิ่งเลว และสามารถเลือกเก็บมาจดจำ และหยิบออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
             • ใฝ่ค้นหา ติดตาม ความรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต
             • มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและจริงจังให้เป็นผู้รู้และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง
             • สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม
             • การเรียนรู้มี 2 อย่าง เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ให้รู้มากขึ้น
             • นักปราชญ์บอกไว้ว่า ความรู้ที่แท้จริง คือการ "รู้ว่าเรารู้อะไร" และ "รู้ว่าเราไม่รู้อะไร" เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น ให้ค้นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
             • กระบวนการเรียนรู้ของบุคคล เริ่มจาก ความปรารถนาของตน (Personal Vision) ถูกตั้งไว้ และกำหนดเป็นเป้าหมายใน
ขั้นตอนของชีวิต เรียนรู้รูปแบบ ความคิดแห่งตนและผู้อื่น (Mental Model) อย่างเข้าใจ  ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Shared vision) อย่างเปิดใจกว้าง และรับฟัง  ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน (Team Llearning) รู้จักการคิดเชิงระบบ (System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผล และมองเห็น คาดการณ์ ผลลัพธ์ในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไป สู่ความสำเร็จที่ต้องการ ได้
             • ความรู้ดังกล่าวของบุคคลในกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน สามารถ นำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ได้ในที่สุด อันเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกยุคใหม่ (New Society) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว และไม่สิ้นสุด
        4. ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร  ในการบริหารงาน คงจะไม่ผิดนักหากจะพูดว่าพูด "คือการบริหารคน" นั่นเอง เพราะ คน เป็นผู้กำหนด วิธีการหรือระบบ (System) การได้มาและการบริหารการใช้ไปของทรัพยากร(Resource Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสำเร็จของงาน การที่จะบริการคนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีอารมณ์ และการแสดงออกที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา และมักมี "เป้าหมายซ่อนเร้นแห่งตน (Hidden Agenda)" อยู่ภายในเสมอ ทำให้การบริหารยาก และไม่อาจ กำหนดผลลัพธ์ อย่างตรงไปตรงมา ได้ ผู้นำที่เข้าใจจิตใจ ของมนุษย์ หากสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเหตุการณ์ต่อจิตใจของคนได้ ก็จะสามารถคาดเดา พฤติกรรม แสดงออกของคนคนนั้นได้ไม่อยาก และสามารถที่จะสร้างสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน ผลเสียหายจากปฏิกริยาตอบโต้ของคนได้
        5. การเป็นคนดี "Good Person"  คนเก่ง และคนดีเป็นของคู่กัน แต่บางครั้งไม่ไปด้วยกัน "คนเก่ง" สร้างได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่เฒ่า โดยการเรียนรู้ทุ่มเท แต่ "คนดี" สร้างได้ยากกว่านักจนบางครั้งก็สร้างไม่ได้เลย คนเรามีการพัฒนา Super ego ซึ่งได้แก่ มโนธรรม และอุดมคติแห่งตนในช่วงวัยเด็ก 5-10 ขวบ จากนั้นสิ่งที่ได้รับ มาจะกลายเป็น โครงสร้างพฤติกรรม ของคนๆ นั้น(Frame of Reference)เขาจะใช้มัน ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ที่สัมผัสโดยใช้ กระบวนการ ที่ซับซอ้นมากขึ้น การเป็นคนดีจะต้องมี การพัฒนาส่วนของ Super ego ของคนๆนั้น มาแล้ว เป็นอย่างดีโดย พ่อแม่ครูอาจารย์ ในช่วงปฐมวัย เมื่อเติบใหญ่ จะเป็นคนที่สามารถ ปรับสมดุล ในตนเองให้ได้ระหว่าง "กิเลส" จาก จิตเบื้องต่ำขับเคลื่อน ด้วย สัญชาติญาณแห่ง ความต้องการ ที่รุนแรงที่ไม่ต้องการเงื่อนไขและข้อจำกัดไดๆ กับ "มโนธรรม" ที่ขับเคลื่อนด้วย ความปารถนา ในอุดมคติแห่งตนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดคนดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้
             • มีความรู้ ไหวพริบ เฉลียวฉลาด (IQ= Intelligence Quatient) รู้แจ้งถึงความดีความชั่ว รู้ที่จะเอาตัวรอด จากเล่ห์อุบายของตัณหา คนชั่ว และนำพาตนเองและผู้คนให้เห็นแจ้งในทางที่ดีควร ประพฤติปฏิบัติได้
             • มีความอดกลั้น สติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุ (EQ= Emotional Quatient) จนตกอยู่ในห้วง"กิเลส" คือ โลภะ โทษะ และโมหะ และเกิดปัญญาในการแก้ไข สร้างสรรค์ และเล็งเห็น ผลเลิศในระยะยาวได้
             • มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (AQ= Adversity Quatient) พร้อมที่จะเสียสละแรงกาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอุดมคติแห่งตน และความดีที่ยึดมั่น ไม่หวั่นไหว ต่อคงามลำบากและอุปสรรคไดๆ
             • ไม่เป็นผู้ยึดติดกับสิ่งไดสิ่งหนึ่งจนเกินพอดี(VQ= Void Quatient)รู้ที่จะ ปรับเปลี่ยน ตนเอง ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างเหมาะสม
• ป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม (MQ= Moral Quatient) มีสำนึกของ "ความผิดชอบชั่วดี" มีความละอายใจต่อบาป ไม่ประพฤติชั่ว มุ่งทำแต่ความดี มีจิตใจที่ผ่องใส
“10 คุณลักษณะผู้นำที่ดี”
        1. ตัดสินใจเด็ดขาด
        2. มีเป้าหมายชัดเจน
        3. รู้จักใช้คน
        4. ซื่อสัตย์
        5. สนับสนุนลูกน้อง
        6. มนุษยสัมพันธ์ดี
        7. รู้จักรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง
        8. บุคลิกภาพดี
        9. มีศิลปะในการเจรจา
       10. มีความเป็นผู้นำ
คุณลักษณะของผู้นำที่ดี
        • มีคุณธรรม
        • ทำตัวเป็นแบบอย่าง
        • สร้างความมั่นคง ปลอดภัย
        • ปรารถนาและพร้อมที่จะเรียนรู้
        • ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
        • ปรารถนา และส่งเสริมนวัตกรรม
        • มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อจำกัด และศักยภาพของตัวเองและชุมชน
        • สร้างแรงบันดาลใจ สร้างขวัญและกำลังใจให้สมาชิกในชุมชน
        • เป็นตัวเชื่อมที่ดี และผนึกพลังชุมชนให้เกิดผลเป็นทวีคูณ
        • เคารพในศักดิ์ศรีและให้เกียรติชาวบ้านไม่ดูถูกผู้อื่น
        • ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และในการตัดสินใจ
        • สร้างเครือข่ายภายในชุมชนและกับภายนอกชุมชน เกิดประชาสังคมที่มีพลัง
        • ดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
        • มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีเหตุมีผล
        • มีความอดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์
        • ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
        • ใช้ข้อมูล ความรู้และปัญญาในการทำงานเพื่อชุมชน
        • ไม่ใช้เงินหรืออำนาจเพื่อชักนำ ครอบงำผู้อื่น
        • มีวิสัยทัศน์ มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน
        • มีบารมีที่ชาวบ้านอยากเดินตาม
คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่
        • สามารถพัฒนาและจูงใจคนในชุมชน
        • สามารถนำการสนทนาเพื่อแก้ไขปัญหาและดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน
        • สามารถมองเห็นความแตกต่างและจัดการกับความแตกต่างของความเห็นและวิธีการทำงานของสมาชิกในชุมชน
        • สามารถในการฟัง การคิดวิเคราะห์
        • สามารถกำหนดและกระจายความรับผิดชอบ
9 คุณสมบัติของผู้นำที่ดี
        1. มีความรู้
        2. มีความคิดริเริ่ม
        3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด
        4. มีมนุษยสัมพันธ์
        5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต
        6. มีความอดทน
        7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม
        8. มีความภักดีต่อหมู่คณะ ส่วนรวมและองค์กร
        9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว
10 สมรรถนะหลักของผู้นำ (Leadership Competencies) .-
        1. Strategic Visioning : มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์
        2. Knowing the Business : รู้จักธุรกิจเป็นอย่างดี
        3. Global Perspective : มีมุมมองระดับโลก
        4. Change Leadership : เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
        5. Adaptability : สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ได้
        6. Creativity & Innovation : มีความคิดสร้างสรรค์และนำมาซึ่งนวัตกรรม
        7. Communication : มีทักษะในการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
        8. Customer Focus : มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก
        9. Integrity : มีความซื่อสัตย์ เก่งและดี ไม่ใช่เก่งแต่โกง
       10. Collaboration : สร้างความร่วมมือ
12 คุณลักษณะผู้นำที่ไม่พึงประสงค์
.........ประเภทหนึ่ง ถือว่าตนเป็นคนฉลาด   เก่งฉกาจรู้จริงทุกสิ่งสรรค์
ผู้น้อยกล่าวอะไรมากันท่าพลัน    ว่าข้อนั้นท่านเป็นผู้รอบรู้ดี
.........ประเภทสอง เอาแต่แค่ใจตน   ไม่ฟังเหตุและผลให้ถ้วนถี่
เป็นประธานการประชุมแต่ละที    มติที่ถูกต้องคือของตน
.........ประเภทสาม ไม่ยอมรับผิดชอบงาน   ผู้น้อยผ่านก็ไม่ให้เหตุผล
เสนอเรื่องสุดแท้แต่เบื้องบน    คิดปลีกตนเผื่อร้ายไม่รับรอง
.........ประเภทสี่ ผู้น้อยพึ่งไม่ได้    งานพลั้งพลาดขาดหายไม่เกี่ยวข้อง
ถ้าได้ดีมีผลตนเข้าครอง     ยามบกพร่องก็ปล่อยปละไม่อาลัย
.........ประเภทห้า หลับตาไม่ฟังเหตุ   น่าทุเรศเชื่อคนพ้นวิสัย
จะถูกผิดไม่คิดคะเนใจ     รักผู้ใดถือว่าดีไม่มีทราม
.........ประเภทหก โทสะโมหะร้าย    น้ำจิตบาปหยาบคายให้เหยียดหยาม
ผู้น้อยพลั้งครั้งหนึ่งถึงประณาม    หรือคุกคามกริยา ด่าตะบอย
.........ประเภทเจ็ด เกิดข้อผิดไม่คิดรับ   ยกโยนกลับตนปลีก แล้วหลีกถอย
ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับรอย    ส่วนตัวลอยไม่ให้มีราคีเคือง
.........ประเภทแปด เลือกที่รักมักที่ชัง   คิดปลูกฝังพวกไว้ให้ฟุ้งเฟื่อง
ใครใกล้ชิดสนิทหน้าพารุ่งเรือง    ที่ขัดเคืองก็สลัดตัดหนทาง
.........ประเภทเก้า อาฆาตและจองเวร   จิตเขม่นผู้น้อยคอยกีดขวาง
ผิดครั้งเดียวจดจำไม่จืดจาง    มุ่งหักล้างจับผิดเป็นนิจกาล
.........ประเภทสิบ บำเหน็จหรือความชอบ   มักประกอบกรณีอันวิตถาร
ไม่พินิจตามร่องของราชการ    มุ่งประมาณว่าอารมณ์ว่าแต่สมควร
.........ประเภทสิบเอ็ด หูเบาเยาว์ปัญญา   เชื่อวาจาคำประจบจนเกินส่วน
ใครลิ้นลมคมคายผ่ายสำนวน    ก็ชักชวนเชื่อฟังไม่ลังเล
.........ประเภทสิบสอง อยากได้ผ่ายลาภผล   เห็นแก่คน จนราชการงานไขว้เขว
ชอบรีดเร้นรับรองของโมเม    ใครทุ่มเทผลให้ท่าน ท่านชอบเอย


ที่มา : ‘งานวิจัยของบริษัททาวเวอร์ส วัทสัน เกี่ยวกับผู้บริษัทชั้นนำระดับโลก

สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาปรารถนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีหรือกระทำ

สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาปรารถนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีหรือกระทำ

1.     เป็นผู้ที่มีความสามารถปฏิบัติงานได้อย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ การที่ผู้ใต้บังคับบัญชาขาดคุณสมบัติอันนี้จะทำให้ผู้บังคับบัญชาลำบากใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถ หรือไม่มีโอกาสเลือกผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยตนเอง เพราะอำนาจในการบรรจุ การแต่งตั้ง โยกย้าย อยู่ที่หน่วยงานส่วนกลางฝ่ายเดียว จะเป็นการสร้างภาระให้ผู้บังคับบัญชานั้นมีความรู้ความสามารถ
2.     มีความเป็นมิตร ร่าเริง เบิกบานและให้ความร่วมมือเต็มใจทำงาน กิริยามารยาท ตลอดจนการพูดจา จะต้องรู้ว่าอันไหนควร อันไหนไม่ควร อย่างไร ใบหน้า ท่าทางจะต้องยิ้มแย้มแจ่มใส และกระฉับกระเฉง ไม่ขัดขวางหรือเป็นตัวถ่วงของความเจริญของงานหรือองค์การ
 3.    รักษาความเจริญก้าวหน้า มีความคิดริเริ่มและมีเหตุผล มีการตัดสินใจดี แต่ไม่หยิ่งยโสและอวดดี อวดเด่นเกินหน้าเกินตา คุณสมบัติอันนี้องค์การหรือผู้บังคับบัญชาที่ดีมีความปรารถนาอย่างยิ่งเพราะเพราะเปิดทางให้องค์การ และผู้บังคับบัญชาได้เจริญก้าวหน้าเพราะมีลูกน้องดี สนับสนุนหรือประดับบารมี ผู้บังคับบัญชาจะระอาต่อผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่มีความทะเยอทะยาน ไม่สนใจทำงาน ไม่สนใจต่อการที่จะมีความรับผิดชอบมากขึ้นไปอีก ไม่ชอบคนที่คอยรับแต่คำสั่งจึงทำ โดยไม่มีความคิดริเริ่ม ไม่ชอบคนที่ทำอะไรไม่มีเหตุผล ทำตามอารมณ์และไม่ชอบคนที่ลังเลใจ
4.    มีควมสนใจไม่เฉพาะงานที่ได้รับมอบหมายและอนาคตของตนเองเท่านั้น แต่ต้องสนใจงานขององค์การส่วนรวมด้วย ผู้บังคับบัญชาที่ดีย่อมสนใจในความเจริญก้าวหน้าขององค์การโดยส่วนรวม ดังนั้นย่อมปรารถนาให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสนใจเช่นนั้นด้วย แต่จะต้องพึงระวังไม่ให้เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงงานของผู้อื่น
5.    รักษาและสนใจต่อการศึกษาหาความรู่เพิ่มเติม อันเป็นประโยชน์ต่องานหรือราชการแล้วแล้วนำความรู้นั้นๆมาใช้ให้ได้ผล และเป็นประโยชน์ต่องานหรือองค์การจริงๆ ผู้บังคับบัญชา ย่อมไม่ชอบผู้ใต้บังคับบัญชาที่ไม่สนใจหาความรู้เพิ่มเติม  หรือเมื่อมีโอกาสไปศึกษาเพิ่มเติม แล้วก็ไม่นำมาใช้ประโยชน์ หรือเมื่อมีโอกาสก็ปลีกตัว หรือโอนย้ายไปอยู่ที่อื่น ทำให้ราชการลงทุนไปโดยไม่ได้ผลตอบแทน
6.    เมื่อได้รับการฝึกทำงานโดยใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชาแล้วจะต้องสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายตามลำพังได้ไม่ใช่ต้องควบคุมดูแลหรือสั่งสอนไม่มีที่สิ้นสุด เพราะผู้บังคับบัญชาจะต้องใช้เวลาบริหารงานอย่างอื่นที่สำคัญกว่าด้วย
7.    จะต้องเสนอข้อคิดเห็น ในทางเสริมสร้างเพื่อให้ได้มาซึ่งวิธีการทำงานที่ดีกว่า วิธีที่ทำหรือใช้อยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ระเบียบแบบแผนหรือคำสั่ง คำชี้แจงมีอยู่อย่างไร ก็ปฏิบัติตามเรื่อยไปไม่คิดแก้ไขปรับปรุงให้ก้าวหน้าทันสมัยยขึ้น
8.    ต้องเคารพในหลักความยุติธรรมและปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกิจการที่มี ไม่ใช่เห็นแก่ได้ หรือคิดกอบโกยประโยชน์ส่วนตัวเป็นใหญ่ ต้องไม่สร้างปัญหาให้แก่องค์การหรือผู้บังคับบัญชา เช่น ใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวบ่อนทำลายความสามัคคีและแยกพักแยกพวก

วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผลิตภัณฑ์ข้าว และบรรจุุภัณฑ์

บรรจุภัณฑ์ข้าว

 ความสำคัญของการบรรจุภัณฑ์ 
การบรรจุภัณฑ์ หมายถึง รูปแบบวัสดุภายนอกที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ภายในให้ปลอดภัย สะดวกต่อการขนส่ง เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ทางการค้าของผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายและการนำไปใช้ของผู้บริโภค การออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มีปัจจัยหลายอย่างที่จะทำให้ผู้บริโภคให้ความสนใจดูจากรูปลักษณ์ภายนอกก็คือ การจับถนัดมือ สีสัน ขนาด สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นรายละเอียดปลีกย่อย แต่จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่สำคัญและมีผลต่อการซื้อของผู้บริโภคค่อนข้างมาก ซึ่งในปัจจุบันนี้การทำธุรกิจที่จะต้องคำนึงถึงผู้บริโภคเป็นอันดับแรก เนื่องจากมีการแข่งขันกันทางธุรกิจสูง ถ้าหากไม่มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้ดูสวยงามแล้วส่วนแบ่งการตลาดก็จะถูกแบ่งไปอย่างแน่นอน ซึ่งแตกต่างกับการทำธุรกิจเมือสมัย 20-30ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าในแต่ละปีอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์มีมูลค่า 5 แสนล้านดอลล่าร์สหรัฐของมูลค่าโดยรวมของโลก (วัตถุดิบใช้ทำบรรจุภัณฑ์ 80%, ส่วนประกอบอื่นๆ 12% เครื่องจักรขึ้นรูป 8%) ทั้งนี้เนื่องจากว่าสินค้าที่มีคุณภาพมีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม จะทำให้สินค้ามีคุณค่าเพิ่มขึ้นนอกจากจะจำหน่ายได้มากขึ้นแล้วยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการยกระดับราคา สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์





 ประเภทของบรรจุภัณฑ์ 
บรรจุภัณฑ์มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับชนิดของสินค้าและความต้องการของลูกค้า ตลาดบรรจุภัณฑ์แบ่งออกตามวัสดุหลักที่ใช้ ดังนี้
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยกระดาษ ประมาณ 36%
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยพลาสติก 24%
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยโลหะ 20%
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำด้วยแก้ว 10%
 ลักษณะที่ดีของบรรจุภัณฑ์ 

ด้านผู้ผลิต/ผู้จำหน่าย
  1. สะดวกต่อการจัดเก็บและการรักษา
  2. สะดวกต่อการจัดส่งและการเคลื่อนย้าย
  3. สะดวกต่อการแยกประเภทและจัดหมวดหมู่
  4. เป็นสื่อเผยแพร่โฆษณาตัวผลิตภัณฑ์
  5. ยกระดับราคา สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์
  6. ช่วยดึงดูดความสนใจแก่ลูกค้า
  7. ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ด้านผู้บริโภค/ลูกค้า
  1. พกพาเคลื่อนย้ายสะดวก
  2. สามารถรักษาผลิตภัณฑ์ให้มีอายุการใช้งานได้มากขึ้น
  3. ช่วยให้ทราบรายละเอียดแหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์
  4. ช่วยสร้างความภูมิใจในการซื้อ
  5. สามารถแปรรูปประยุกต์ใช้งานอื่นได้
บรรจุภัณฑ์ในอนาคต
  • มีตรารับรองคุณภาพสินค้า เช่นตรา Q
  • มีเรื่องราวที่น่าสนใจบนบรรจุภัณฑ์
  • แสดงคุณภาพสินค้าในระบบดิจิตอลหรือ e-packaging



 บทบาทของกรมการข้าวต่อการบรรจุภัณฑ์ข้าว 
กรมการข้าว โดยสำนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว มีกลุ่มงานพัฒนาการเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งเสริมพัฒนารูปแบบและคุณภาพของบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าข้าว ทั้งในตลาดเฉพาะ (Niche Market) และตลาดทั่วไป โดยเน้นความต้องการของผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อให้งานบรรจุภัณฑ์ ได้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและเป็นการจุดประกายให้ผู้ประกอบการได้เป็นแนวทางในการนำรูปแบบไปใช้พัฒนาและประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มรายได้ให้สูงขึ้นโดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่กลุ่มแม่บ้าน อุตสาหกรรมขนาดย่อย นักศึกษาผู้สนใจ บุคคลทั่วไป และภาคเอกชน



ที่มา: สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว http://www.brrd.in.th/rkb/product/index.php-file=content.php&id=16.htm#2

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การสร้างแนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่

ความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่

          Mccathy & Pereault, Jr. (Basic Marketing, 1991 - P. 342)   ได้ให้ความหมายคำว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่ว่าผลิตภัณฑ์ใหม่หมายถึง   ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ใช้สำหรับกิจการ อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวคิดใหม่หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว  (การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องมีผลให้ผู้บริโภคพึงพอใจผลิตภัณฑ์มากขึ้นกว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เดิม) หรืออาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมที่นำเสนอในตลาดใหม่ผลิตภัณฑ์ใหม่หมายถึง   ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ที่ใช้สำหรับกิจการ   อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีแนวคิดใหม่หรือเป็นการเปลี่ยนแปลงบางอย่างในผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว  (การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะต้องมีผลให้ผู้บริโภคพึงพอใจผลิตภัณฑ์มากขึ้นกว่าการบริโภคผลิตภัณฑ์เดิม) หรืออาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมที่นำเสนอในตลาดใหม่ ปัจจุบันสภาพตลาดมีการแข่งขันสูงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดจำนวนมาก    ส่งผลให้วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลง   ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะอยู่รอดได้ในตลาด จึงต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่มี  "ความใหม่" ที่แตกต่างและเป็นสาระสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องตรงกับลักษณะความต้องการของผู้บริโภค จากความหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่    จึงอาจจำแนกผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ 3 ลักษณะคือ


          1.  Innovative Product หมายถึง  ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอในตลาดมาก่อนหรือเป็นแนวคิดใหม่ที่ผู้บริโภคอาจยังคาดไม่ถึง
          2.  Replacement Product of Modify Product  หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมาจากผลิตภัณฑ์เดิมที่ขายอยู่แล้วในตลาด     ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการ    และสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคได้มากขึ้นกว่าเดิม
          3.  Imitative or Me-too Product  หมายถึง ผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับกิจการแต่ไม่ใหม่ในท้องตลาด เกิดจากการที่กิจการเห็นว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นิยมของผู้บริโภค      ทำให้กิจการมีโอกาสทำกำไรสูง จึงเสนอผลิตภัณฑ์เข้าสู่ตลาดเพื่อขอส่วนแบ่งตลาดบ้างขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่   
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นแนวคิดใหม่ยังไม่มีผู้ใดนำเสนอในตลาดมาก่อน   เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสสูงในตลาด  แต่มีความเสี่ยงสูงต่อความล้มเหลวด้วย    ถ้าพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีลักษณะไม่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ใหม่จะได้นับการยอมรับจากผู้บริโภค และเพื่อลดความเลี่ยงจากการล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ใหม่  กิจการจึงควรพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นขั้นตอน   ดังนี้  1.  สร้างแนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่  2.  การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด    3.  การวิเคราะห์สภาพธุรกิจ   4.  การพัฒนาผลิตภัณฑ์  5.  การทดสอบตลาด   6.  การแนะนำสินค้าเข้าสู่ตลาดการสร้างแนวคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่  กิจการจะต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจนในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ว่าต้องการอะไร   เช่น  ต้องการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี   ต้องการรักษาความเป็นผู้นำในตลาด   ต้องการใช้กำลังการผลิตส่วนที่เหลือให้เต็มที่  ต้องการขยายตลาด   หรืออาจจ้องการขยายผลิตภัณฑ์ให้ครบถ้วน  เป็นต้น  ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์ที่ต่างกันจะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่แตกต่างกัน  กลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ใหม่ต่างไปจากเดิมและกลยุทธ์การตลาดของผลิตภัณฑ์ใหม่ก็จะแตกต่างกันด้วย     แนวคิดใหม่ ๆ ของผลิตภัณฑ์ อาจมาจากแหล่งแนวคิดต่าง ๆ กัน  เช่นจากรายงานของพนักงานขาย    จากผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน    จากการหาช่องว่างของตลาดปัจจุบัน    รวมไปถึงอาจได้แนวคิดใหม่มาจากพ่อค้าคนกลาง  การระดมแนวคิดของหัวหน้าแผนกต่าง ๆ ในกิจการ  และแนวคิดส่วนใหญ่ที่ได้มักได้มาจากปัญหา   ข้อเสนอแนะคำติชมของผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภค  พบเจอในการบริโภคผลิตภัณฑ์นั้นในขั้นตอนนี้กิจการควรจะได้แนวคิดหลาย ๆ แนวคิดจากแหล่งต่างๆ กัน เพื่อนำไว้กลั่นกรองเลือกเฉพาะแนวคิดที่เหมาะสมสำหรับกิจการการประเมินแนวคิด
         จุดมุ่งหมายที่ต้องกลั่นกรองแนวคิดหลาย ๆ แนวคิดในขั้นตอนที่ ก็เพื่อให้เหลือเพียงแนวคิดเดียวที่กิจการประเมินแล้วว่าดีที่สุด  เหมาะสมที่สุดสำหรับกิจการและมีโอกาสดีในตลาด  เกณฑ์ที่ใช้ในการกลั่นกรองแนวคิดนี้  กิจการต้องสามารถวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง  จุดอ่อน  ลักษณะที่ตลาดที่กิจการกำลังจะเข้าไปและคัดเลือกเอาเฉพาะแนวคิดที่สามารถทำให้กิจการอยู่ในฐานะได้เปรียบคู่แข่งขัน
          แนวคิดของผลิตภัณฑ์ใหม่    ควรที่จะตอบสนองวัตถุประสงค์ที่กิจการกำหนดไว้  และมีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า     สร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม      ผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ควรทำลายสิ่งแวดล้อมใช้แล้วควรปลอดภัยทั้งตัวผู้บริโภคและสังคมโดยรวมการพัฒนาแนวคิดและการทดสอบแนวคิด
          เป็นขั้นตอนที่เกิดขึ้นหลังจากกิจการสามารถคัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เลือกเพียง แนวคิดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกิจการมาทดสอบว่าผู้บริโภคเป้าหมายให้การยอมรับ   และมีทัศนคติต่อแนวคิดใหม่นี้อย่างไร  มีอะไรที่ควรต้องแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมก่อนทำการผลิตจริงอย่างไร  หากผลการทดสอบแนวคิดใหม่เป็นลบ หรือไม่มีโอกาสในตลาด     กิจการก็สามารถล้มเลิกแนวคิดผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เสียก่อนที่จะลงทุนในกระบวนการผลิตจริง ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีน้อยลง    


การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้โดนใจผู้บริโภค


การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้โดนใจผู้บริโภค
Product Development for Understanding Consumer
       
          การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นการพัฒนา ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค โดยรูปแบบในการพัฒนาอาจเป็นด้านบรรจุภัณฑ์ หรือตัวผลิตภัณฑ์อาหารก็ได้ งานพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมือที่มีความจำเป็น อาศัยทั้งระบบและกลยุทธ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ (วิชัย, 2550) การสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์เป็นขั้นตอนเริ่มต้นสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยอาศัยการเข้าถึงความต้องการหรือความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์อย่างแท้จริง การค้นหาความต้องการของผู้บริโภคจำเป็นต้องอาศัยเทคนิคต่างๆ การเลือกใช้เทคนิคใดนั้น ขึ้นกับการพิจารณาความเหมาะสม เช่น วัตถุประสงค์ในการสำรวจ งบประมาณ ระยะเวลา และความรู้ความเข้าใจในเทคนิคของผู้ดำเนินงาน ดังนั้นจึงนำเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint analysis) เทคนิคคาโน (Kano model) และวิธีแฟลชโพรไฟล์ (Flash profile) มาใช้เพื่อค้นหาความต้องการของผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเกลือแร่เพื่อสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ (Product concept development) ทั้งนี้เครื่องดื่มเกลือแร่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสทางธุรกิจสูง มีคู่แข่งในตลาดน้อย กลุ่มผู้บริโภคจะเป็นกลุ่มที่เล่นกีฬา ออกกำลังกายและผู้ที่สูญเสียเหงื่อเนื่องจากการทำกิจกรรมต่างๆ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา 
เพื่อเปรียบเทียบแนวความคิดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint analysis) เทคนิคคาโน (Kano model) และ วิธีแฟลช โพรไฟล์ (Flash profile) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ขั้นตอนการสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ 
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบ ข้อดี-ข้อด้อย ของเทคนิคการพัฒนาแนวความคิดผลิตภัณฑ์แบบดั้งเดิมและปัจจุบัน
วิธีการ
ข้อดี
ข้อด้อย
วิธีการดั้งเดิม เช่น
Pass/Fail Scoring,
Scoring/Screening เป็นต้น
ง่ายและสะดวกสำหรับผู้วิจัยผู้บริโภคไม่ค่อยมีส่วนร่วมกับการเลือก
แนวความคิดผลิตภัณฑ์
วิธีการปัจจุบัน เช่น
Kano model, Conjoint
analysis เป็นต้น
ผู้บริโภคมีส่วนร่วมกับการเลือก
แนวความคิดผลิตภัณฑ์
ใช้สถิติและคณิตศาสตร์ในการวิเคราะห์ผล
            คาโนโมเดล: เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการศึกษาความต้องการของผู้บริโภค โดยมีหลักการว่าความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์นั้นมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยวิธีของคาโนจะทำการประเมินผลกระทบของคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์ต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคตามการจำแนกความพึงพอใจ 3 ส่วน คือ ความต้องการขั้นพื้นฐานที่ผลิตภัณฑ์ต้องมี (must-be requirements) ความต้องการที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค (one-dimensional requirements) และส่วนที่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความประทับใจและดึงดูดใจ (attractive requirements) ผลจากการสำรวจจะทำให้สามารถเลือกคุณลักษณะที่สำคัญในการนำมาสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์ได้ ทั้งนี้อาจมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอายุ และกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายด้วย (Sauerwein et al., 1996)
            วิธีแฟลชโพรไฟล์: เป็นวิธีการใหม่ปัจจุบันมีการนำใช้ในการสร้างแนวความคิดผลิตภัณฑ์ โดยเป็นการประยุกต์จาก 2 วิธีการคือ Free Choice Profiling และComparative Methodology  หลักการคือใช้ผู้ทดสอบที่มีประสบการณ์ในการใช้สเกลทางประสาทสัมผัสและให้คะแนนในแต่ละคุณลักษณะอย่างอิสระแทนการฝึกฝนผู้ทดสอบพร้อมทั้งอธิบายคำจำกัดความทางคุณลักษณะที่ประเมินได้ จากนั้นวิเคราะห์ผลโดยการจัดการข้อมูลทางคณิตศาสตร์แบบโปรครัสท์ (Generalized  Procrustes Analysis: GPA) โดยโปรแกรมที่สามารถใช้ได้มีหลายโปรแกรมแต่โปรแกรม XLSTAT  เป็นอีกโปรแกรมหนึ่งที่สามารถหาได้ง่าย ข้อดีของวิธีนี้คือสะดวก รวดเร็วและค่าใช้จ่ายน้อย   ข้อจำกัดคือไม่สามารถระบุรายละเอียดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจนต้องทำการวิเคราะห์ร่วมกับเทคนิคอื่นๆ เช่น Conjoint Analysis แต่วิธีนี้ก็มีความน่าเชื่อถือได้ระดับหนึ่ง (Sorensonand Bogue, 2006) และเหมาะสำหรับผู้ประกอบการในโรงงานอุตสาหกรรมที่หาผู้ทดสอบที่ผ่านการฝึกฝนได้ยาก
            การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis): เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนาแนวความคิดผลิตภัณฑ์ (Product Concept Development) เพื่อค้นหาว่าคุณลักษณะ (Attribute) สำคัญของผลิตภัณฑ์นั้นคืออะไร และที่ระดับ (level) เท่าใดจึงจะเหมาะสม ที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความสนใจและต้องการซื้อผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible Product) และบริการ (Service) นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทคนิคนี้ในการคาดคะเนส่วนแบ่งตลาด (Market share) ได้อีกด้วย (Lassoued et al., 2007)
ผลการศึกษา :
เทคนิค
แนวคิดผลิตภัณฑ์ในแต่ละเทคนิค
คาโน โมเดล
(
Kano Model)
ปัจจัยคุณภาพสำคัญของเครื่องดื่มเกลือแร่ที่สามารถสร้างความประทับใจและดึงดูดใจต่อผู้บริโภคในภาพรวมคือ ความสะดวกในการหยิบจับ ซึ่งเป็นปัจจัยที่จะสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์กับคู่แข่งในตลาดได้ ปัจจัยคุณภาพที่ผู้บริโภคต้องการให้มีและมีผลต่อความพึงพอใจ ได้แก่ ความสะดวกในการพกพา ความโปร่งใสของภาชนะบรรจุ และฝาปิดทำจากวัสดุที่ปลอดภัย ส่วนปัจจัยที่ต้องมีในผลิตภัณฑ์และผู้ผลิตต้องให้ความสนใจอันดับแรกในการพัฒนา ได้แก่ การแสดงข้อมูลด้านโภชนาการ การแสดงฉลากและการแสดงคำเตือน ซึ่งผู้บริโภคเห็นว่าปัจจัยเหล่านี้เป็นคุณลักษณะพื้นฐานของผลิตภัณฑ์ หากขาดหายไปจะส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที ดังนั้นผู้ผลิตสามารถใช้ปัจจัยคุณภาพทั้งหมดนี้ เป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มเกลือแร่ต่อไป
แฟลช โพรไฟล์
(
Flash Profile)
จากการศึกษากลุ่มผู้ทดสอบในช่วงอายุ 18-50 ปี  พบคุณลักษณะทางประสาทสัมผัสที่สำคัญร่วมกัน 5 คุณลักษณะ คือ รสหวาน รสเปรี้ยว กลิ่นส้ม กลิ่นรสส้ม และความเข้มของสีส้ม  และแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ควรพัฒนาคุณลักษณะด้านรสชาติปรุงแต่ง  (กลิ่นส้ม กลิ่นรสส้ม และความเข้มของสีส้ม) เป็นอันดับแรก(อธิบายความแปรปรวนได้ 68.34%) รองลงมาควรให้ความสำคัญกับคุณลักษณะด้านรสชาติพื้นฐาน (รสหวาน และรสเปรี้ยว) (อธิบายความแปรปรวนได้ 23.52%) ซึ่งถ้าสามารถปรับปรุงทั้ง 5 คุณลักษณะนี้ได้ จะสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ทั้งหมด 91.86%
การวิเคราะห์องค์
ประกอบร่วม
(
Conjoint Analysis)
แนวความคิดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มเกลือแร่ในคุณลักษณะด้านฝาของบรรจุภัณฑ์  ขนาดบรรจุ  และราคา พบว่าผู้บริโภคถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มตามเพศ ซึ่งทั้งสองกลุ่มให้ความสำคัญในคุณลักษณะด้านขนาดบรรจุและราคาในทิศทางเดียวกัน (มีค่า relative importance อยู่ในช่วงร้อยละ 40 - 45)  ต้องการให้บรรจุภัณฑ์มีขนาดบรรจุสูงสุดคือ  500  มิลลิลิตร (ค่า part worth มีค่า 2.5034  และ  2.7399 ตามลำดับ) และมีระดับราคาต่ำสุดที่ 15  บาท (ค่า part worth มีค่า -1.0180  และ-0.8622 ตามลำดับ) ส่วนคุณลักษณะด้านฝาของบรรจุภัณฑ์นั้นทั้งสองกลุ่มให้ความสำคัญที่แตกต่างกัน (มีค่า relative importance อยู่ในช่วงร้อยละ  12 – 13) โดยเพศชายจะให้ความสำคัญกับฝา ฟริซ ส่วนเพศหญิงจะให้ความสำคัญกับฝาเกลียว
                   การสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์จากเทคนิคทั้ง 3 ทำให้ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงระดับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน โดยเทคนิคคาโนโมเดลสามารถสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์จากลักษณะของผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านที่เป็นตัวแปรขับเคลื่อนและลักษณะที่จำเป็นต้องมีของผลิตภัณฑ์ ซึ่งแนวความคิดผลิตภัณฑ์ที่ได้จะสอดคล้องกับเทคนิคแฟลชโพรไฟล์ที่แนวความคิดผลิตภัณฑ์สามารถระบุได้เพียงชนิดของลักษณะของตัวแปรเท่านั้น สำหรับแนวคิดที่ได้จากการใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมนั้น ลักษณะที่สำคัญของผลิตภัณฑ์จะถูกนำมาสร้างคุณลักษณะร่วมกัน (combination) หรือแนวความคิดผลิตภัณฑ์จะสามารถระบุได้ถึงระดับของลักษณะหรือตัวแปรซึ่งผลการประเมินจะทำให้ทราบถึงลักษณะและทิศทางหรือระดับของลักษณะที่มีผลของต่อความชอบของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ โดยข้อมูลของแนวความคิดผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมยังสามารถบอกได้ถึงต้นทุนและการประมาณการส่วนแบ่งทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการอีกด้วย
  
คณะผู้วิจัย : 
รัชนี เจริญ, ใบศรี สร้อยสน, เสาวภาคย์ วัฒนพาหุ, ศรีเวียง ทิพย์กานนท์,
กานต์ญาพันธ์ นันทะวิชัย, ชมภู่ ยิ้มโต และพิสิฏฐ์  ธรรมวิถี
หน่วยงาน : 
ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โทร. 089-1201256

หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์

การออกแบบ : หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์




หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบมีหลักการพื้นฐาน โดยอาศัยส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในบทเรียนเรื่อง “ องค์ประกอบศิลป์ ” คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี และพื้นผิว นำมาจัดวางเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยมีหลักการ ดังนี้
1. ความเป็นหน่วย (Unity) 
ในการออกแบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงงานทั้งหมดให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันเป็นกลุ่มก้อน หรือมีความสัมพันธ์กันทั้งหมดของงานนั้นๆ และพิจารณาส่วนย่อยลงไปตามลำดับในส่วนย่อยๆก็คงต้องถือหลักนี้เช่นกัน

2. ความสมดุลหรือความถ่วง (Balancing) 
เป็นหลักทั่วๆไปของงานศิลปะที่จะต้องดูความสมดุลของงานนั้นๆ ความรู้สึกทางสมดุลของงานนี้เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในส่วนของความคิดในเรื่องของความงามในสิ่งนั้นๆ มีหลักความสมดุลอยู่ 3 ประการ

2.1 ความสมดุลในลักษณะเท่ากัน (Symmetry Balancing) 
คือมีลักษณะเป็นซ้าย-ขวา บน-ล่าง เป็นต้น ความสมดุลในลักษณะนี้ดูและเข้าใจง่าย

2.2 ความสมดุลในลักษณะไม่เท่ากัน (Nonsymmetry Balancing) คือมีลักษณะสมดุลกันในตัวเองไม่จำเป็นจะต้องเท่ากันแต่ดูในด้านความรู้สึกแล้วเกิดความสมดุลกันในตัวลักษณะการสมดุลแบบนี้ผู้ออกแบบจะต้องมีการประลองดูให้แน่ใจในความรู้สึกของผู้พบเห็นด้วยซึ่งเป็นความสมดุลที่เกิดในลักษณะที่แตกต่างกันได้ เช่น ใช้ความสมดุลด้วยผิว (Texture) ด้วยแสง-เงา (Shade) หรือด้วยสี (Colour)
2.3 จุดศูนย์ถ่วง (Gravity Balance) การออกแบบใดๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและจะต้องใช้งานการทรงตัวจำเป็นที่ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วงได้แก่ การไม่โยกเอียงหรือให้ความรู้สึกไม่มั่นคงแข็งแรง ดังนั้นสิ่งใดที่ต้องการจุศูนย์ถ่วงแล้วผู้ออกแบบจะต้องระมัดระวังในสิ่งนี้ให้มาก ตัวอย่างเช่น เก้าอี้จะต้องตั้งตรงยึดมั่นทั้งสี่ขาเท่าๆกัน การทรงตัวของคนถ้ายืน 2 ขา ก็จะต้องมีน้ำหนักลงที่เท้าทั้ง 2 ข้างเท่าๆกัน ถ้ายืนเอียงหรือพิงฝา น้ำหนักตัวก็จะลงเท้าข้างหนึ่งและส่วนหนึ่งจะลงที่หลังพิงฝา รูปปั้นคนในท่าวิ่งจุดศูนย์ถ่วงจะอยู่ที่ใด ผู้ออกแบบจะต้องรู้และวางรูปได้ถูกต้องเรื่องของจุดศูนย์ถ่วงจึงหมายถึงการทรงตัวของวัตถุสิ่งของนั่นเอง
3. ความสัมพันธ์ทางศิลปะ ( Relativity of Arts) 
ในเรื่องของศิลปะนั้น เป็นสิ่งที่จะต้องพิจารณากันหลายขั้นตอนเพราะเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมพันธ์กัน อันได้แก่

3.1 การเน้นหรือจุดสนใจ (Emphasis or CentreofInterest) งานด้านศิลปะผู้ออกแบบจะต้องมีจุดเน้นให้เกิดสิ่งที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็น โดยมีข้อบอกกล่าวเป็นความรู้สึกร่วมที่เกิดขึ้นเองจากตัวของศิลปกรรมนั้นๆ ความรู้สึกนี้ผู้ออกแบบจะต้องพยายามให้เกิดขึ้นเหมือนกัน
3.2 จุดสำคัญรอง ( Subordinate) 
คงคล้ายกับจุดเน้นนั่นเองแต่มีความสำคัญรองลงไปตามลำดับซึ่งอาจจะเป็นรองส่วนที่ 1ส่วนที่ 2 ก็ได้ ส่วนนี้จะช่วยให้เกิดความลดหลั่นทางผลงานที่แสดง ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย
3.3 จังหวะ ( Rhythem) 
โดยทั่วๆไปสิ่งที่สัมพันธ์กันในสิ่งนั้นๆย่อมมีจังหวะ ระยะหรือความถี่ห่างในตัวมันเองก็ดีหรือสิ่งแวดล้อมที่สัมพันธ์อยู่ก็ดีจะเป็นเส้น สี เงา หรือช่วงจังหวะของการตกแต่ง แสงไฟ ลวดลาย ที่มีความสัมพันธ์กันในที่นั้นเป็นความรู้สึกของผู้พบเห็นหรือผู้ออกแบบจะรู้สึกในความงามนั่นเอง
3.4 ความต่างกัน ( Contrast) 
เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นเพื่อช่วยให้มีการเคลื่อนไหวไม่ซ้ำซากเกินไปหรือเกิดความเบื่อหน่าย จำเจ ในการตกแต่งก็เช่นกัน ปัจจุบันผู้ออกแบบมักจะหาทางให้เกิดความรู้สึกขัดกันต่างกันเช่น เก้าอี้ชุดสมัยใหม่แต่ขณะเดียวกันก็มีเก้าอี้สมัยรัชกาลที่ 5 อยู่ด้วย 1 ตัว เช่นนี้ผู้พบเห็นจะเกิดความรู้สึกแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึก ไม่ซ้ำซาก รสชาติแตกต่างออกไป
3.5 ความกลมกลืน ( Harmomies)
ความกลมกลืนในที่นี้หมายถึงพิจารณาในส่วนรวมทั้งหมดแม้จะมีบางอย่างที่แตกต่างกันการใช้สีที่ตัดกันหรือการใช้ผิว ใช้เส้นที่ขัดกัน ความรู้สึกส่วนน้อยนี้ไม่ทำให้ส่วนรวมเสียก็ถือว่าเกิดความกลมกลืนกันในส่วนรวม ความกลมกลืนในส่วนรวมนี้ถ้าจะแยกก็ได้แก่ความเน้นไปในส่วนมูลฐานทางศิลปะอันได้แก่ เส้น แสง-เงา รูปทรง ขนาด ผิว สี นั่นเอง
ผลิตภัณฑ์ที่ดีย่อมเกิดมาจากการออกแบบที่ดีในการออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเกณฑ์ในการกำหนดคุณสมบัติผลิตภัณฑ์ที่ดีเอาไว้ว่าควรจะมีองค์ประกอบอะไรบ้างแล้วใช้ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการต่างๆ ที่ได้กล่าวมาเสนอแนวคิดให้ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมตามหลักการออกแบบโดยหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่นักออกแบบควรคำนึงนั้นมีอยู่ 9 ประการ คือ
• หน้าที่ใช้สอย ( FUNCTION)
• ความปลอดภัย (SAFETY)
• ความแข็งแรง (CONSTRUCTION)
• ความสะดวกสบายในการใช้ (ERGONOMICS)
• ความสวยงาม (AESTHETIES)
• ราคาพอสมควร (COST)
• การซ่อมแซมง่าย (EASE OF MAINTENANCE)
• วัสดุและการผลิต (MATERIALS AND PRODUCTION)
• การขนส่ง (TRANSPORTATION)

1 หน้าที่ใช้สอย 
หน้าที่ใช้สอยถือเป็นหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกที่ต้องคำนึงผลิตภัณฑ์ทุกชนิดต้องมีหน้าที่ใช้สอยถูกต้องตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย ผลิตภัณฑ์นั้นถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) แต่ถ้าหากผลิตภัณฑ์ใดไม่สามารถสนองความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์นั้นก็จะถือว่ามีประโยชน์ใช้สอยไม่ดีเท่าที่ควร (LOW FUNTION)

สำหรับคำว่าประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) นั้น ดลต์ รัตนทัศนีย์ ( 2528 : 1) ได้กล่าวไว้ว่า เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจขอให้ดูตัวอย่างการออกแบบมีดหั่นผักแม้ว่ามีดหั่นผักจะมีประสิทธิภาพในการหั่นผักให้ขาดได้ตามความต้องการ แต่จะกล่าวว่า มีดนั้นมีประโยชน์ใช้สอยดี (HIGH FUNCTION) ยังไม่ได้ จะต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นร่วมอีกเช่น ด้ามจับของมีดนั้นจะต้องมีความโค้งเว้าที่สัมพันธ์กับขนาดของมือผู้ใช้ ซึ่งจะเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความสะดวกสบายในการหั่นผักด้วย และภายหลังจากการใช้งานแล้วยังสามารถทำความสะอาดได้ง่าย การเก็บและบำรุงรักษาจะต้องง่ายสะดวกด้วย ประโยชน์ใช้สอยของมีดจึงจะครบถ้วนและสมบูรณ์

เรื่องหน้าที่ใช้สอยนับว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อนมาก ผลิตภัณฑ์บางอย่างมีประโยชน์ใช้สอยตามที่ผู้คนทั่วๆ ไปทราบเบื้องต้นว่า มีหน้าที่ใช้สอยแบบนี้ แต่ความละเอียดอ่อนที่นักออกแบบได้คิดออกมานั้นได้ตอบสนองความสะดวกสบายอย่างเต็มที่ เช่น มีดในครัวมีหน้าที่หลักคือใช้ความคมช่วยในการหั่น สับ แต่เราจะเห็นได้ว่ามีการออกแบบมีดที่ใช้ในครัวอยู่มากมายหลายแบบหลายชนิดตามความละเอียดในการใช้ประโยชน์เป็นการเฉพาะที่แตกต่างเช่น มีดสำหรับปอกผลไม้ มีดแล่เนื้อสัตว์ มีดสับกระดูก มีดบะช่อ มีดหั่นผัก เป็นต้น ซึ่งก็ได้มีการออกแบบลักษณะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ถ้าหากมีการใช้มีดอยู่ชนิดเดียวแล้วใช้กันทุกอย่างตั้งแต่แล่เนื้อ สับบะช่อ สับกระดูก หั่นผัก ก็อาจจะใช้ได้ แต่จะไม่ได้ความสะดวกเท่าที่ควร หรืออาจได้รับอุบัติเหตุขณะที่ใช้ได้ เพราะไม่ใช่ประโยชน์ใช้สอยที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้เป็นการเฉพาะอย่าง

การออกแบบเก้าอี้ก็เหมือนกัน หน้าที่ใช้สอยเบื้องต้นของเก้าอี้ คือใช้สำหรับนั่ง แต่นั่งในกิจกรรมใดนั่งในห้องรับแขก ขนาดลักษณะรูปแบบเก้าอี้ก็เป็นความสะดวกในการนั่งรับแขก พูดคุยกัน นั่งรับประทานอาหาร ขนาดลักษณะเก้าอี้ก็เป็นความเหมาะสมกับโต๊ะอาหาร นั่งเขียนแบบบนโต๊ะเขียนแบบ เก้าอี้ก็จะมีขนาดลักษะณที่ใช้สำหรับการนั่งทำงานเขียนแบบ ถ้าจะเอาเก้าอี้รับแขกมาใช้นั่งเขียนแบบ ก็คงจะเกิดการเมื่อยล้า ปวดหลัง ปวดคอ แล้วนั่งทำงานได้ไม่นาน ตัวอย่างดังกล่าวต้องการที่จะพูดถึงเรื่องของหน้าที่ใช้สอยของผลิตภัณฑ์ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและละเอียดอ่อนมาก ซึ่งนักออกแบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด 
2 ความปลอดภัย 
สิ่งที่อำนวยประโยชน์ได้มากเพียงใด ย่อมจะมีโทษเพียงนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความสะดวกต่างๆ มักจะเกิดจากเครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า การออกแบบควรคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องแสดงเครื่องหมายไว้ให้ชัดเจนหรือมีคำอธิบายไว้

ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ต้องคำนึงถึงวัสดุที่เป็นพิษเวลาเด็กเอาเข้าปากกัดหรืออม นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้เป็นสำคัญ มีการออกแบบบางอย่าง ต้องใช้เทคนิคที่เรียกว่าแบบธรรมดา แต่คาดไม่ถึงช่วยในการให้ความปลอดภัย เช่น การออกแบบหัวเกลียววาล์ว ถังแก๊ส หรือปุ่มเกลียว ล็อกใบพัดของพัดลม จะมีการทำเกลียวเปิดให้ย้อนศรตรงกันข้ามกับเกลียวทั่วๆ ไป เพื่อความปลอดภัย สำหรับคนที่ไม่ทรายหรือเคยมือไปหมุนเล่นคือ ยิ่งหมุนก็ยิ่งขันแน่น เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้

3 ความแข็งแรง

ผลิตภัณฑ์จะต้องมีความแข็งแรงในตัวของผลิตภัณฑ์หรือโครงสร้างเป็นความเหมาะสมในการที่นักออกแบบรู้จักใช้คุณสมบัติของวัสดุและจำนวน หรือปริมาณของโครงสร้าง ในกรณีที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่จะต้องมีการรับน้ำหนัก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ต้องเข้าใจหลักโครงสร้างและการรับน้ำหนัก อีกทั้งต้องไม่ทิ้งเรื่องของความสวยงามทางศิลปะ เพราะมีปัญหาว่า ถ้าใช้โครงสร้างให้มากเพื่อความแข็งแรง จะเกิดสวนทางกับความงาม นักออกแบบจะต้องเป็นผู้ดึงเอาสิ่งสองสิ่งนี้เข้ามาอยู่ในความพอดีให้ได้

ส่วนความแข็งแรงของตัวผลิตภัณฑ์เองนั้นก็ขึ้นอยู่ที่การออกแบบรูปร่างและการเลือกใช้วัสดุ และประกอบกับการศึกษาข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องรับน้ำหนักหรือกระทบกระแทกอะไรหรือไม่ในขณะใช้งานก็คงต้องทดลองประกอบการออกแบบไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ความแข็งแรงของโครงสร้างหรือตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากเลือกใช้ประเภทของวัสดุ โครงสร้างที่เหมาะสมแล้วยังต้องคำนึงถึงความประหยัดควบคู่กันไปด้วย

4 ความสะดวกสบายในการใช้

นักออกแบบต้องศึกษาวิชากายวิภาคเชิงกลเกี่ยวกับสัดส่วน ขนาด และขีดจำกัดที่เหมาะสมสำหรับอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะประกอบด้วยความรู้ทางด้านขนาดสัดส่วนมนุษย์ (ANTHROPOMETRY) ด้านสรีรศาสตร์ (PHYSIOLOGY) จะทำให้ทราบ ขีดจำกัด ความสามารถของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายมนุษย์ เพื่อใช้ประกอบการออกแบบ หรือศึกษาด้านจิตวิทยา (PSYCHOLOGY) ซึ่งความรู้ในด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้ จะทำให้นักออกแบบ ออกแบบและกำหนดขนาด (DIMENSIONS) ส่วนโค้ง ส่วนเว้า ส่วนตรง ส่วนแคบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างพอเหมาะกับร่างกายหรืออวัยวะของมนุษย์ที่ใช้ ก็จะเกิดความสะดวกสบายในการใช้การไม่เมื่อยมือหรือเกิดการล้าในขณะที่ใช้ไปนานๆ ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษาวิชาดังกล่าว ก็จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ต้องใช้อวัยวะร่างกายไปสัมผัสเป็นเวลานาน เช่น เก้าอี้ ด้าม เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ การออกแบบภายในห้องโดยสารรถยนต์ ที่มือจับรถจักรยาน ปุ่มสัมผัสต่างๆ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ยกตัวอย่างมานี้ถ้าผู้ใช้ผู้ใดได้เคยใช้มาแล้วเกิดความไม่สบายร่างกายขึ้น ก็แสดงว่าศึกษากายวิภาคเชิงกลไม่ดีพอแต่ทั้งนี้ก็ต้องศึกษาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ดีก่อน จะไปเหมาว่าผลิตภัณฑ์นั้นไม่ดี เพราะผลิตภัณฑ์บางชนิดผลิตมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งออกแบบโดยใช้มาตรฐานผู้ใช้ของชาวตะวันตก ที่มีรูปร่างใหญ่โตกว่าชาวเอเชีย เมื่อชาวเอเชียนำมาใช้อาจจะไม่พอดีหรือหลวม ไม่สะดวกในการใช้งาน นักออกแบบจึงจำเป็นต้องศึกษาสัดส่วนร่างกายของชนชาติหรือเผ่าพันธุ์ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเกณฑ์
5 ความสวยงาม 
ผลิตภัณฑ์ในยุคปัจจุบันนี้ความสวยงามนับว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหน้าที่ใช้สอยเลย ความสวยงามจะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการตัดสินใจซื้อเพราะประทับใจ ส่วนหน้าที่ใช้สอยจะดีหรือไม่ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งคือใช้ไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดข้อบกพร่องในหน้าที่ใช้สอยให้เห็นภายหลัง ผลิตภัณฑ์บางอย่างความสวยงามก็คือ หน้าที่ใช้สอยนั่นเอง เช่น ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ของโชว์ตกแต่งต่างๆ ซึ่งผู้ซื้อเกิดความประทับใจในความสวยงามของผลิตภัณฑ์ ความสวยงามจะเกิดมาจากสิ่งสองสิ่งด้วยกันคือ รูปร่าง (FORM) และสี (COLOR) การกำหนดรูปร่างและสี ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกับการกำหนด รูปร่าง สี ได้ตามความนึกคิดของจิตรกรที่ต้องการ แต่ในงานออกแบบผลิตภัณฑ์เป็นในลักษณะศิลปะอุตสาหกรรมจะทำตามความชอบ ความรู้สึกนึกคิดของนักออกแบบแต่เพียงผู้เดียวไม่ได้จำเป็นต้องยึดข้อมูลและกฎเกณฑ์ผสมผสานรูปร่างและสีสันให้เหมาะสม

ด้วยเหตุของความสำคัญของรูปร่างและสีที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์ นักออกแบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาวิชา ทฤษฏีหรือหลีกการออกแบบและวิชาทฤษฏีสี ซึ่งเป็นวิชาทางด้านของศิลปะแล้วนำมาประยุกต์ผสานใช้กับศิลปะทางด้านอุตสาหกรรมให้เกิดความกลมกลืน

6 ราคาพอสมควร

ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาขายนั้นย่อมต้องมีข้อมูลด้านผู้บริโภคและการตลาดที่ได้ค้นคว้าและสำรวจแล้ว ผลิตภัณฑ์ย่อมจะต้องมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะใช้ว่าเป็นคนกลุ่มใด อาชีพฐานะเป็นอย่างไร มีความต้องการใช้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นี้เพียงใด นักออกแบบก็จะเป็นผู้กำหนดแบบผลิตภัณฑ์ ประมาณราคาขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่จะซื้อได้การจะได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีราคาเหมาะสมกับผู้ซื้อนั้น ก็อยู่ที่การเลือกใช้ชนิดหรือเกรดของวัสดุ และเลือกวิธีการผลิตที่ง่ายรวดเร็ว เหมาะสม

อย่างไรก็ดี ถ้าประมาณการออกมาแล้ว ปรากฏว่า ราคาค่อนข้างจะสูงกว่าที่กำหนดไว้ ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาองค์ประกอบด้านต่างๆ กันใหม่ แต่ก็ยังต้องคงไว้ซึ่งคุณค่าของผลิตภัณฑ์นั้น เรียกว่าเป็นวิธีการลดค่าใช้จ่าย
7 การซ่อมแซมง่าย 
หลักการนี้คงจะใช้กับผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีกลไกภายในซับซ้อน อะไหล่บางชิ้นย่อมต้องมีการเสื่อมสภาพไปตามอายุการใช้งานหรือการใช้งานในทางที่ผิด นักออกแบบย่อมที่จะต้องศึกษาถึงตำแหน่งในการจัดวางกลไกแต่ละชิ้นตลอดจนนอตสกรู เพื่อที่จะได้ออกแบบส่วนของฝาครอบบริเวณต่างๆ ให้สะดวก ในการถอดซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ง่าย
8 วัสดุและวิธีการผลิต 
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ผลิตด้วยวัสดุสังเคราะห์ อาจมีกรรมวิธีการเลือกใช้วัสดุและวิธีผลิตได้หลายแบบ แต่แบบหรือวิธีใดถึงจะเหมาะสมที่สุด ที่จะไม่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงกว่าที่ประมาณ ฉะนั้น นักออกแบบคงจะต้องศึกษาเรื่องวัสดุและวิธีผลิตให้ลึกซึ้ง โดยเฉพาะวัสดุจำพวกพลาสติกในแต่ละชนิด จะมีคุณสมบัติทางกายภาพที่ต่างกันออกไป เช่น มีความใส ทนความร้อน ผิวมันวาว ทนกรดด่างได้ดี ไม่ลื่น เป็นต้น ก็ต้องเลือกให้คุณสมบัติดังกล่าวให้เหมาะสมกับคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่พึงมียิ่งในยุคสมัยนี้ มีการรณรงค์ช่วยกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่นำกลับหมุนเวียนมาใช้ใหม่ ก็ยิ่งทำให้นักออกแบบย่อมต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกคือ เป็นผู้ช่วยพิทักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยการเลือกใช้วัสดุที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้ ที่เรียกว่า รีไซเคิล

9 การขนส่ง

นักออกแบบต้องคำนึงถึงการประหยัดค่าขนส่ง การขนส่งสะดวกหรือไม่ ระยะใกล้หรือระยะไกลกินเนื้อที่ในการขนส่งมากน้อยเพียงใด การขนส่งทางบกทางน้ำหรือทางอากาศต้องทำการบรรจุหีบห่ออย่างไร ถึงจะทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่เกิดการเสียหายชำรุด ขนาดของตู้คอนเทนเนอร์บรรทุกสินค้าหรือเนื้อที่ที่ใช้ในการขนส่งมีขนาด กว้าง ยาว สูง เท่าไหร่ เป็นต้น หรือในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่ทำการออกแบบมีขนาดใหญ่โตยาวมาก เช่น เตียง หรือพัดลมแบบตั้งพื้น นักออกแบบก็ควรที่จะคำนึงถึงเรื่องการขนส่ง ตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบกันเลย คือ ออกแบบให้มีชิ้นส่วน สามารถถอดประกอบได้ง่าย สะดวก เพื่อทำให้หีบห่อมีขนาดเล็กสุดสามารถบรรจุได้ในลังที่เป็นขนาดมาตรฐาน เพื่อการประหยัดค่าขนส่ง เมื่อผู้ซื้อซื้อไปก็สามารถที่จะขนส่งได้ด้วยตนเองนำกลับไปบ้านก็สามารถประกอบชิ้นส่วนให้เข้ารูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้โดยสะดวกด้วยตนเอง

เรื่องหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้กล่าวมาทั้ง 9 ข้อนี้เป็นหลักการที่นักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงเป็นหลักการทางสากลที่ได้กล่าวไว้ในขอบเขตอย่างกว้าง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ไว้ทั่วทุกกลุ่มทุกประเภทในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดนั้น อาจจะไม่ต้องคำนึงหลักการดังกล่าวครบทุกข้อก็ได้ ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์บางชนิดก็อาจจะต้องคำนึงถึงหลักการดังกล่าวครบถ้วนทุกข้อ เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้แขวนเสื้อ ก็คงจะเน้นหลักการด้านประโยชน์ใช้สอย ความสะดวกในการใช้และความสวยงามเป็นหลัก คงจะไม่ต้องไปคำนึงถึงด้านการซ่อมแซม เพราะไม่มีกลไกซับซ้อนอะไร หรือการขนส่ง เพราะขนาดจำกัดตามประโยชน์ใช้สอยบังคับ เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ออกแบบผลิตภัณฑ์รถยนต์ ก็จำเป็นที่นักออกแบบจะต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ครบทั้ง 9 ข้อ เป็นต้น