วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจดแจ้งลิขสิทธิ์
ลิขสิทธิ์ไม่จำเป็นต้องยื่นเพื่อจดทะเบียนเหมือนกับสิทธิบัตรหรือเครื่องหมายการค้า แต่ก็สมควรยิ่งที่เจ้าของลิขสิทธิ์ยื่นจดอย่างเป็นทางการกับสำนักงานของกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะหากคุณมีแผนที่จะใช้งานลิขสิทธิ์ในทางการค้า เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะกีดกันผู้อื่นจากการคัดลอก การจำหน่าย การแสดง การเผยแพร่ภาพ หรือการใช้เนื้อหามาดัดแปลง หรือใช้ค้าขายในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ได้รับการยินยอมจากเจ้าของสิทธิ งานที่มีลิขสิทธิ์ในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณควรเรียนรู้เพื่อการปกป้องและใช้สิทธิของคุณได้อย่างเต็มที่
โดยทั่วไปแล้ว “งานสร้างสรรค์ที่ผ่านกระบวนการคิด”จะได้รับการคุ้มครองอย่างอัตโนมัติตั้งแต่แรกวันที่เจ้าของได้สร้างสรรค์ขึ้นมา และมีอายุถึง 50 ปีหลังจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียชีวิต หากเป็นงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของนิติบุคคล งานลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองสูงสุด 50 ปีหลังจากวันแรกที่ได้ทำการเผยแพร่
ยึดตามมาตรา 4 ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของราชอาณาจักรไทย งานที่มีลิขสิทธิ์ประกอบไปด้วย 9 ประเภท
  1. งานวรรณกรรม (รวมไปถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์)
  2. งานการแสดง
  3. งานวิจิตรศิลป์ ศิลปกรรม
    • ภาพวาด
    • ประติมากรรม
    • งานพิมพ์
    • งานตกแต่งสถาปัตย์
    • ภาพถ่าย
    • ภาพวาดเขียน แผนที่ ภาพร่าง
    • งานประยุกตศิลป์ (งานประยุกตศิลป์ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 25 ปีหลังจากวันจัดสร้าง)
  1. งานดนตรี
  2. งานสิ่งบันทึกเสียง (เทป ซีดี)
  3. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
  4. งานภาพยนตร์
  5. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ
  6. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น