วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คุณลักษณะของผู้นำที่พึงประสงค์


ผู้นำที่ดีควรมีคุณสมบัติอย่างไร
         1. ความรู้ (Knowledge) การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้ เกี่ยว กับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น
         2. ความริเริ่ม (Initiative)  ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วย ตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง ความ ริเริ่มจะเจริญงอกงามได้ หัวหน้างานจะต้องมีความกระตือรือร้น คือมีใจจดจ่องานดี มีความเอาใจใส่ต่อหน้าที่ มีพลังใจที่ต้องการความสำเร็จอยู่เบื้องหน้า
         3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness) ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกายวาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย
         4. การมีมนุษยสัมพันธ์ (Human relations) ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักประสานความคิด ประสานประโยชน์สามารถทำงานร่วมกับคนทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษาได้ ผู้นำที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีจะช่วยให้ปัญหาใหญ่เป็นปัญหาเล็กได้
         5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty) ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
         6. มีความอดทน (Patience) ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง
         7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness ) ความ ตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ ความ ตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง
พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)
          8. มีความภักดี (Loyalty) การ เป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
          9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty) ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผลความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ
คุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ
          การศึกษาภาวะผู้นำจากคุณลักษณะของผู้นำ (Leader Traits) เป็นวิธีการศึกษาวิธีแรกสุด แต่เนื่องจากการศึกษาไม่สามารถยืนยันได้ว่าคุณลักษณะ (Trait) แต่ละคุณลักษณะของ ผู้นำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพของภาวะผู้นำได้ จึงได้เปลี่ยนแนวทางการศึกษาไปที่พฤติกรรมหรือแบบของผู้นำในเวลาต่อมา
          คุณลักษณะของผู้นำที่ประสบความสำเร็จ ในระยะเริ่มแรกของการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำ เหล่านักจิตวิทยาและนักวิจัยได้พยายามแยกแยะคุณลักษณะส่วนตัวของผู้เป็นผู้นำ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ติดตัวผู้นำมาตั้งแต่เกิด มิใช่สิ่งที่ได้รับการพัฒนาให้เกิดขึ้นภายหลัง โดยมีพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้นำย่อมมีคุณลักษณะบางประการที่แตกต่างไปจากผู้ตาม การศึกษาได้เน้นไปใน 2 ประเด็น คือ
          การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำกับผู้ที่ไม่ใช่ผู้นำ และ การศึกษาเปรียบเทียบคุณลักษณะของผู้นำที่มีประสิทธิภาพหรือประสบความสำเร็จกับผู้นำที่ไร้ประสิทธิภาพ หรือไม่ประสบความสำเร็จ การศึกษาเปรียบเทียบใน 2ประเด็นข้างต้นนี้ ได้พิจารณาคุณลักษณะใน 3 ด้าน คือ
        • คุณลักษณะด้านกายภาพ
        • ด้านสติปัญญา
        • ด้านบุคลิกภาพของผู้นำ
        สต๊อกดิล (Stogdill, 1948) ได้ทบทวนการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่ทำระหว่างปี ค.ศ.1904 - 1948 จำนวน 124 เรื่อง และสรุปคุณลักษณะของผู้นำที่ช่วยให้กลุ่มสามารถประสบความสำเร็จตามเป้าหมายได้ดังนี้คือ
        1. ความเฉลียวฉลาด (Intelligence)
        2. ความพร้อม (Alertness to the need of others)
        3. ความเข้าใจในงาน (Understanding of the task)
        4. ความริเริ่มและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหา (Initiative and persistance in dealing with problems)
        5. ความเชื่อมั่นในตนเอง (Self-confidence)
        6. ความต้องการที่จะรับผิดชอบ (Desire to accept responsibility)
        7. ความเหนือกว่าและสามารถควบคุม (Occupy a position of dominance and control)
          อย่างไรก็ตาม การที่ผู้นำจะมีคุณลักษณะอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย ดังที่สต๊อกดิล (Stogdill, 1948 : 46) สรุปไว้ดังนี้
"ผู้ที่จะเป็นผู้นำคนอื่นมิใช่สามารถจะเป็นได้โดยการอาศัยแต่เพียงการมีคุณลักษณะทางกายภาพและบุคลิกภาพของผู้นำนั้น เพราะว่าคุณลักษณะของผู้นำจะมีความสัมพันธ์หรือเข้ากันได้กับลักษณะ กิจกรรมและเป้าหมายของผู้ตามด้วย" การศึกษาคุณลักษณะในช่วงนี้ ไม่ได้มุ่งเน้นให้ความสนใจว่า ผู้นำที่ประสบความสำเร็จมีคุณลักษณะเฉพาะใดบ้าง หากแต่ศึกษาอย่างกว้าง ๆ หาคุณลักษณะของผู้นำที่แตกต่างจากบุคคลอื่นๆ ในองค์การต่าง ๆ ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้เมื่อศึกษาเฉพาะแต่ละคุณลักษณะ ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีความสัมพันธ์ หรือเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้นำประสบความสำเร็จ
         การศึกษาในระยะนี้พบว่าผู้นำที่มีคุณลักษณะเฉพาะบางอย่างอาจจะประสบความสำเร็จในสถานการณ์หนึ่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จในสถานการณ์อื่น ผู้นำที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันก็สามารถประสบความสำเร็จในสถานการณ์เดียวกันได้ ในปี ค.ศ.1974 สต๊อกดิลได้เขียนหนังสือ Handbook of Leadership เสนอการศึกษาคุณลักษณะของผู้นำจากงานวิจัย จำนวน 163 ฉบับ ที่ทำขึ้นระหว่าง ค.ศ.1949 - 1970 การศึกษาทั้ง 163 ฉบับนี้ มีความแตกต่างกันทั้งวิธีการและขอบเขตของความสนใจของงานวิจัย
นอกจากจะศึกษาคุณลักษณะของผู้นำที่จะทำให้ประสบความสำเร็จได้ ยังศึกษาถึงทักษะด้านเทคนิคด้านการจัดการ รวมทั้งแรงจูงใจในการจัดการด้วย ความแตกต่างในวิธีการและความสนใจ แต่ผลของการศึกษายังได้คุณลักษณะเหมือนเดิม ยิ่งส่งผลให้คุณลักษณะที่พบเป็นที่ยอมรับมากขึ้นว่ามีส่วนสนับสนุนหรือเสริมสร้างประสิทธิภาพของผู้นำ แม้นจะไม่มีการรับประกันก็ตาม
ผู้นำที่ดีมี  3 ลักษณะคือ ผู้นำงาน ผู้นำชีวิต และ ผู้นำจิตใจ
              ผู้นำงาน   มี คิดงานเป็น บอกงานได้ เข็นงานเก่ง และเร่งแก้ไขปรับปรุง 
ผู้นำชีวิต   ที่มีผลต่อลูกน้อง มีดูแลชีวิต คิดหาหลักประกันครอบครัว  และชี้แนะด้านชีวิต
              ผู้นำจิตใจ   ทีมี่ต่อลูกน้องเพื่อครองใจลูกน้อง              มี คำนึงถึงจิตใจลูกน้อง ปกครองด้วยความเป็นธรรม เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเป็นกันเอง สร้างความอบอุ่นใจ และเอาใจเขามาใส่ใจเรา
คุณสมบัติผู้นำที่ดี มี 10 อย่าง  คือ
        หูหนัก (ไม่เชื่อใครง่าย)
        ปรับยอด (เน้นระเบียบวินัย) 
        ปลอดผิด (ไม่ทำผิดระเบียบ)
        คิดเป็น (คิดดีคิดชอบ)
        เห็นไกล (มีวิสัยทัศน์)
        ใช้ธรรมะ (ใช้หลักธรรมในการปกครอง) 
        นำตรง  (พาหมู่คณะไปสู่ทิศทางความเจริญ )
        คงงาน (แนะนำงาน กำกับดูแล)
        หาญใหญ่ (ใจกล้าเผื่อแผ่)
        และใจถึง (กล้าคิด กล้าตัดสินใจ ปกป้องลูกน้อง กล้ามอบหมาย กล้ารับผิด)
คุณสมบัติผู้นำที่ด้อย มี 10 อย่าง  คือ
        หูเบา (เชื่อคนง่าย ขาดความยุติธรรม)
        เข้าข้าง (ลำเอียงไปที่ตัวเองและพวกพ้อง)
        วางโต (อวดรู้ อวดเก่ง เบ่งกล้าม ข่มขู่)
       โง่งม (ไม่ยอมรับว่าตนเองผิด หลงตัวเอง หลงทาง ไม่ยอมปรับเปลี่ยน)
       ซ่อนงาน (ไม่ยอมสานต่องานจากคนอื่น ทำให้งานไม่ต่อเนื่องหยุดชะงัก )
       ผลาญเงิน ( ไม่รู้จักการประหยัด ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย)
       เดินผิด (ยิ่งเดิน ยิ่งไกล ยิ่งเข้าใกล้ยิ่งห่างหาย คนเตือนก็ไม่รับฟัง)
       จิตฟุ้ง (ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ หวั่นไหวตามสถานการณ์)
       มุ่งได้ (เอาแต่ประโยชน์ ไม่ยอมเสียสละ)
       และขายเพื่อน (เอาดีใส่ตัว  เอาชั่วใส่คนอื่น)
ผู้นำแบบใดล่ะที่เหมาะสมกับยุคนี้
        Dr.Casper แกบอกว่า ผู้นำยุคที่ "only the fittest survive" หรือยุคที่ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดจึงจะอยู่รอดเช่นในปัจจุบันนี้ จะต้องมีคุณสมบัติ (ผมว่าขั้นต่ำ) 3 เรื่องต่อไปนี้ครับ
        1) ต้องดำรงไว้ซึ่งเกียรติยศและความซื่อสัตย์  ที่เน้นคุณสมบัติในเรื่องของความซื่อสัตย์และเกียรติยศนี้ ก็เพราะโลกในยุคใหม่ แต่ละคนต่างก็มีความเป็นตัวของตัวเองสูง หรือเป็นผู้นำตัวเองได้ ดีบ้าง เก่งบ้างแตกต่างกันไป  ผู้นำจึงต้องพัฒนาตัวเองมาเป็น "leaders of the leaders"
        ในยุคนี้ ผู้นำแบบอำนาจนิยม ชอบบังคับ ข่มขู่ ดูถูกว่าคนอื่นด้อยกว่า หรือคนอื่นฉลาดไม่เท่าตัวเอง หรือนิยมรวบอำนาจไว้กับตัวเองนั้น จะเป็นกลุ่มที่ไม่ประสบความสำเร็จได้เลย ผู้นำที่ดี จึงต้องรู้จักให้เกียรติลูกน้อง และสอนให้มีการให้เกียรติซึ่งกันและกันในที่ทำงาน ไม่ใช่อยากได้อะไรก็ด่าเอา รวมทั้งมีความจริงใจ ซื่อสัตย์ สร้างความเคารพและความไว้วางใจกันให้เกิดขึ้น ให้ลูกน้องได้รู้สึกว่า เขาได้รับการปฏิบัติอย่างใหเกียรติและจริงใจ เรื่องเหล่านี้ล่ะครับ สามารถทำให้เกิดความจงรักภักดีของคนต่อองค์การ ผูกใจคนให้ทำงานร่วมกัน รักและสามัคคีกัน บรรยากาศในการทำงานก็ดีตามไปด้วย
        คราวนี้ โดยธรรมดาแล้ว ผู้นำก็ต้องวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของลูกน้อง ก็ไม่เป็นเรื่องแปลกครับ เพียงแต่ว่า ควรจะต้องทำด้วยความจริงใจ และถูกต้อง เกื้อกูลซึ่งกันและกันสมมติว่า เจ้าของธุรกิจที่มาเป็นผู้นำองค์การ แต่เป็นแบบอำนาจนิยมที่ว่านั้น จะทำอย่างไร ผมคงตอบอะไรไม่ได้หรอกครับ คงต้องตัวใครตัวมัน หรือยึดคติว่า "หากทำงานกับเขาแล้วไม่สบายใจ เราก็ลาออกไปเสียดีกว่า..."
        2) ต้องมีวิสัยทัศน์  ผู้นำจะต้องสามารถสร้างวิสัยทัศน์ที่สามารถทำให้เป็นจริงได้ น่าเชื่อถือ สอดคล้องกับศักยภาพขององค์การตามสถานการณ์ ท้าทายและดึงดูดใจให้คนทำมันให้สำเร็จ นำไปสู่มาตรฐานการทำงานที่สูงขึ้น โดยที่วิสัยทัศน์ขององค์การเองก็ต้องมองการณ์ไกล เข้าใจง่าย โดยครอบคลุมในลักษณะกว้าง ๆ วิสัยทัศน์ที่ดีที่เกิดจากผู้นำนั้น จะต้องมองในเรื่องของการใช้ทรัพยากรขององค์การ โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด  การที่จะทำแบบนี้ได้ ผู้นำเองก็ต้องมีบทบาทหนึ่งในการกระตุ้นให้พนักงานทุ่มเทในการทำงานอย่างสุดความสามารถ
        3) ผู้นำต้องมีวิญญาณของความเป็นเด็ก (the heart of child)  วิญญาณของความเป็นเด็กนั้น คือ การมองโลกในแง่ดี คิดด้านบวก ตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ บนพื้นฐานของจิตสำนึกบริสุทธิ์ ไม่เอาแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง นอกจากนี้ ผู้นำยังต้องมีความอยากรู้อยากเห็น แสวงหาความรู้ใหม่ ๆ มาเติมเต็มให้ตัวเองอย่างกระตือรือร้น เรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ปรับเปลี่ยนมันให้เป็นโอกาสให้ประสบการณ์ โดยมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหามากกว่าหาตัวผู้กระทำผิด เพราะนั่นเป็นการบ่อนทำลายขวัญกำลังใจของพนักงานอย่างที่ท่านอาจจะไม่คาดคิด
คุณสมบัติของการเป็นผู้บริหาร และผู้นำที่ดี
        1. การเป็นผู้รู้จักตนเอง(Self realization)
             • รู้ถึงความต้องการแห่งตน
             • รู้ถึงวิธีการสร้างเป้าหมายแห่งตน ไม่ว่าในชีวิตส่วนตัว หรืองาน
             • รู้ถึงขีดความสามารถแห่งตน ที่จะกระทำการใดๆ ได้เพียงใด
             • รู้ถึงวิธีการควบคุมตนเอง การมีวินัยในการใช้ชีวิต และการทำงาน
             • รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตน และการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงนั้น
             • รู้ว่าตนจะต้องลงทุนอะไร เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งต้องการ
             • รู้สึกได้ถึงความสุข ความทุกข์ ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องมีผู้ไดมาชี้นำ
             • ยอมรับความจริงได้ทุกอย่าง ไม่หลอกตัวเอง 
        2. การเป็นผู้รู้จักการวิเคราะห์หาเหตุและผล (Analytical Mind)
             • มองทุกสิ่งที่ปรากฏต่อหน้า(Appearance)อย่างลึกซึ้ง คิดถึงที่ไป ที่มา ไม่ใช่แค่ที่เห็น
             • มองทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ลึกถึงเหตุปัจจัย (Cause) และสามารถคาดคะเนผลที่เกิดตามมา (Consequence) ในปัจจุบัน และในอนาคตได้
             • เป็นผู้ที่ตั้งคำถามตลอดเวลา "ใคร (Who)? ทำอะไร (What)? ที่ไหน (Where)? เมื่อไร (When)?ทำไม (Why) อย่างไร (HOW)? " (5-W 1H)
             • เข้าใจถึง หลักการ "อริยสัจ" ของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างดี
             • เป็นผู้ที่ช่างสังเกต ให้ความสนใจในรายละเอียดเพื่อเก็บมาเป็นข้อมูล
             • มองพฤติกรรมบุคคล (Person) เหตุการณ์ (Event) สามารถโยงถึง หลักการ (Principle) ได้ และ ใช้หลักการ (Principle) สร้างวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ปัญหา และป้องกันปัญหา เพื่อให้เกิดเหตุการณ์ (Event) ที่ต้องการ และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของบุคคล (Person) ให้อยู่ภายไต้การควบคุมได้ 
        3. การเป็นผู้เรียนรู้ตลอดกาล (Life Long Learning)
             • มีความรู้สึกว่าตนไม่รู้อะไรอีกมาก และตระหนักถึงความเป็นผู้ใฝ่รู้ตลอดเวลา
             • เข้าใจดีกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ทำให้สิ่งที่เคยรู้เมื่อวันวานอาจไม่ใช่ในวันนี้อีกต่อไป
             • มองเห็น สิ่งของ ผู้คน เหตุการณ์ เป็นสื่อสอนตนได้ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งดี หรือสิ่งเลว และสามารถเลือกเก็บมาจดจำ และหยิบออกมาใช้ได้อย่างเหมาะสม
             • ใฝ่ค้นหา ติดตาม ความรู้ทุกเรื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวข้องกับวิชาชีพ และการดำรงชีวิต
             • มุ่งเรียนรู้อย่างลึกซึ้งและจริงจังให้เป็นผู้รู้และเข้าใจในแต่ละเรื่องอย่างแท้จริง
             • สามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้อง ถูกเวลา และเหมาะสม
             • การเรียนรู้มี 2 อย่าง เรียนรู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้และเรียนรู้สิ่งที่เรารู้ให้รู้มากขึ้น
             • นักปราชญ์บอกไว้ว่า ความรู้ที่แท้จริง คือการ "รู้ว่าเรารู้อะไร" และ "รู้ว่าเราไม่รู้อะไร" เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้น ให้ค้นหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
             • กระบวนการเรียนรู้ของบุคคล เริ่มจาก ความปรารถนาของตน (Personal Vision) ถูกตั้งไว้ และกำหนดเป็นเป้าหมายใน
ขั้นตอนของชีวิต เรียนรู้รูปแบบ ความคิดแห่งตนและผู้อื่น (Mental Model) อย่างเข้าใจ  ให้ความสำคัญกับ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน (Shared vision) อย่างเปิดใจกว้าง และรับฟัง  ร่วมแรงร่วมใจทำงานเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จร่วมกัน (Team Llearning) รู้จักการคิดเชิงระบบ (System thinking) มีทักษะการวิเคราะห์ มองเหตุผล และมองเห็น คาดการณ์ ผลลัพธ์ในอนาคตได้ และสามารถสังเคราะห์กระบวนการที่สามารถนำไป สู่ความสำเร็จที่ต้องการ ได้
             • ความรู้ดังกล่าวของบุคคลในกลุ่มที่อยู่ร่วมกัน สามารถ นำไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) ได้ในที่สุด อันเป็น สิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในสังคมโลกยุคใหม่ (New Society) ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง รวดเร็ว และไม่สิ้นสุด
        4. ความเข้าใจในจิตวิทยาการบริหาร  ในการบริหารงาน คงจะไม่ผิดนักหากจะพูดว่าพูด "คือการบริหารคน" นั่นเอง เพราะ คน เป็นผู้กำหนด วิธีการหรือระบบ (System) การได้มาและการบริหารการใช้ไปของทรัพยากร(Resource Management) เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผลสำเร็จของงาน การที่จะบริการคนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่ มีอารมณ์ และการแสดงออกที่ซับซ้อน ไม่ตรงไปตรงมา และมักมี "เป้าหมายซ่อนเร้นแห่งตน (Hidden Agenda)" อยู่ภายในเสมอ ทำให้การบริหารยาก และไม่อาจ กำหนดผลลัพธ์ อย่างตรงไปตรงมา ได้ ผู้นำที่เข้าใจจิตใจ ของมนุษย์ หากสามารถวิเคราะห์ผลกระทบของเหตุการณ์ต่อจิตใจของคนได้ ก็จะสามารถคาดเดา พฤติกรรม แสดงออกของคนคนนั้นได้ไม่อยาก และสามารถที่จะสร้างสถานการณ์รองรับไว้ล่วงหน้าเพื่อป้องกัน ผลเสียหายจากปฏิกริยาตอบโต้ของคนได้
        5. การเป็นคนดี "Good Person"  คนเก่ง และคนดีเป็นของคู่กัน แต่บางครั้งไม่ไปด้วยกัน "คนเก่ง" สร้างได้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งแก่เฒ่า โดยการเรียนรู้ทุ่มเท แต่ "คนดี" สร้างได้ยากกว่านักจนบางครั้งก็สร้างไม่ได้เลย คนเรามีการพัฒนา Super ego ซึ่งได้แก่ มโนธรรม และอุดมคติแห่งตนในช่วงวัยเด็ก 5-10 ขวบ จากนั้นสิ่งที่ได้รับ มาจะกลายเป็น โครงสร้างพฤติกรรม ของคนๆ นั้น(Frame of Reference)เขาจะใช้มัน ปรับให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ที่สัมผัสโดยใช้ กระบวนการ ที่ซับซอ้นมากขึ้น การเป็นคนดีจะต้องมี การพัฒนาส่วนของ Super ego ของคนๆนั้น มาแล้ว เป็นอย่างดีโดย พ่อแม่ครูอาจารย์ ในช่วงปฐมวัย เมื่อเติบใหญ่ จะเป็นคนที่สามารถ ปรับสมดุล ในตนเองให้ได้ระหว่าง "กิเลส" จาก จิตเบื้องต่ำขับเคลื่อน ด้วย สัญชาติญาณแห่ง ความต้องการ ที่รุนแรงที่ไม่ต้องการเงื่อนไขและข้อจำกัดไดๆ กับ "มโนธรรม" ที่ขับเคลื่อนด้วย ความปารถนา ในอุดมคติแห่งตนที่เต็มไปด้วยเงื่อนไขและข้อจำกัดคนดี ควรมีคุณสมบัติดังนี้
             • มีความรู้ ไหวพริบ เฉลียวฉลาด (IQ= Intelligence Quatient) รู้แจ้งถึงความดีความชั่ว รู้ที่จะเอาตัวรอด จากเล่ห์อุบายของตัณหา คนชั่ว และนำพาตนเองและผู้คนให้เห็นแจ้งในทางที่ดีควร ประพฤติปฏิบัติได้
             • มีความอดกลั้น สติตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งยั่วยุ (EQ= Emotional Quatient) จนตกอยู่ในห้วง"กิเลส" คือ โลภะ โทษะ และโมหะ และเกิดปัญญาในการแก้ไข สร้างสรรค์ และเล็งเห็น ผลเลิศในระยะยาวได้
             • มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค (AQ= Adversity Quatient) พร้อมที่จะเสียสละแรงกาย เพื่อให้ได้มาซึ่งอุดมคติแห่งตน และความดีที่ยึดมั่น ไม่หวั่นไหว ต่อคงามลำบากและอุปสรรคไดๆ
             • ไม่เป็นผู้ยึดติดกับสิ่งไดสิ่งหนึ่งจนเกินพอดี(VQ= Void Quatient)รู้ที่จะ ปรับเปลี่ยน ตนเอง ตลอดเวลาให้สอดคล้องกับสภาวะการณ์ที่มี การเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาอย่างเหมาะสม
• ป็นผู้มีศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม (MQ= Moral Quatient) มีสำนึกของ "ความผิดชอบชั่วดี" มีความละอายใจต่อบาป ไม่ประพฤติชั่ว มุ่งทำแต่ความดี มีจิตใจที่ผ่องใส
“10 คุณลักษณะผู้นำที่ดี”
        1. ตัดสินใจเด็ดขาด
        2. มีเป้าหมายชัดเจน
        3. รู้จักใช้คน
        4. ซื่อสัตย์
        5. สนับสนุนลูกน้อง
        6. มนุษยสัมพันธ์ดี
        7. รู้จักรับฟังความคิดเห็นของลูกน้อง
        8. บุคลิกภาพดี
        9. มีศิลปะในการเจรจา
       10. มีความเป็นผู้นำ
คุณลักษณะของผู้นำที่ดี
        • มีคุณธรรม
        • ทำตัวเป็นแบบอย่าง
        • สร้างความมั่นคง ปลอดภัย
        • ปรารถนาและพร้อมที่จะเรียนรู้
        • ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
        • ปรารถนา และส่งเสริมนวัตกรรม
        • มองเห็นจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อจำกัด และศักยภาพของตัวเองและชุมชน
        • สร้างแรงบันดาลใจ สร้างขวัญและกำลังใจให้สมาชิกในชุมชน
        • เป็นตัวเชื่อมที่ดี และผนึกพลังชุมชนให้เกิดผลเป็นทวีคูณ
        • เคารพในศักดิ์ศรีและให้เกียรติชาวบ้านไม่ดูถูกผู้อื่น
        • ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ และในการตัดสินใจ
        • สร้างเครือข่ายภายในชุมชนและกับภายนอกชุมชน เกิดประชาสังคมที่มีพลัง
        • ดำเนินงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้
        • มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีเหตุมีผล
        • มีความอดทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์
        • ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
        • ใช้ข้อมูล ความรู้และปัญญาในการทำงานเพื่อชุมชน
        • ไม่ใช้เงินหรืออำนาจเพื่อชักนำ ครอบงำผู้อื่น
        • มีวิสัยทัศน์ มียุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน
        • มีบารมีที่ชาวบ้านอยากเดินตาม
คุณสมบัติของผู้นำยุคใหม่
        • สามารถพัฒนาและจูงใจคนในชุมชน
        • สามารถนำการสนทนาเพื่อแก้ไขปัญหาและดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน
        • สามารถมองเห็นความแตกต่างและจัดการกับความแตกต่างของความเห็นและวิธีการทำงานของสมาชิกในชุมชน
        • สามารถในการฟัง การคิดวิเคราะห์
        • สามารถกำหนดและกระจายความรับผิดชอบ
9 คุณสมบัติของผู้นำที่ดี
        1. มีความรู้
        2. มีความคิดริเริ่ม
        3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด
        4. มีมนุษยสัมพันธ์
        5. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต
        6. มีความอดทน
        7. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม
        8. มีความภักดีต่อหมู่คณะ ส่วนรวมและองค์กร
        9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว
10 สมรรถนะหลักของผู้นำ (Leadership Competencies) .-
        1. Strategic Visioning : มีวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์
        2. Knowing the Business : รู้จักธุรกิจเป็นอย่างดี
        3. Global Perspective : มีมุมมองระดับโลก
        4. Change Leadership : เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง
        5. Adaptability : สามารถปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ได้
        6. Creativity & Innovation : มีความคิดสร้างสรรค์และนำมาซึ่งนวัตกรรม
        7. Communication : มีทักษะในการสื่อสารอย่างมีคุณภาพ
        8. Customer Focus : มุ่งเน้นลูกค้าเป็นหลัก
        9. Integrity : มีความซื่อสัตย์ เก่งและดี ไม่ใช่เก่งแต่โกง
       10. Collaboration : สร้างความร่วมมือ
12 คุณลักษณะผู้นำที่ไม่พึงประสงค์
.........ประเภทหนึ่ง ถือว่าตนเป็นคนฉลาด   เก่งฉกาจรู้จริงทุกสิ่งสรรค์
ผู้น้อยกล่าวอะไรมากันท่าพลัน    ว่าข้อนั้นท่านเป็นผู้รอบรู้ดี
.........ประเภทสอง เอาแต่แค่ใจตน   ไม่ฟังเหตุและผลให้ถ้วนถี่
เป็นประธานการประชุมแต่ละที    มติที่ถูกต้องคือของตน
.........ประเภทสาม ไม่ยอมรับผิดชอบงาน   ผู้น้อยผ่านก็ไม่ให้เหตุผล
เสนอเรื่องสุดแท้แต่เบื้องบน    คิดปลีกตนเผื่อร้ายไม่รับรอง
.........ประเภทสี่ ผู้น้อยพึ่งไม่ได้    งานพลั้งพลาดขาดหายไม่เกี่ยวข้อง
ถ้าได้ดีมีผลตนเข้าครอง     ยามบกพร่องก็ปล่อยปละไม่อาลัย
.........ประเภทห้า หลับตาไม่ฟังเหตุ   น่าทุเรศเชื่อคนพ้นวิสัย
จะถูกผิดไม่คิดคะเนใจ     รักผู้ใดถือว่าดีไม่มีทราม
.........ประเภทหก โทสะโมหะร้าย    น้ำจิตบาปหยาบคายให้เหยียดหยาม
ผู้น้อยพลั้งครั้งหนึ่งถึงประณาม    หรือคุกคามกริยา ด่าตะบอย
.........ประเภทเจ็ด เกิดข้อผิดไม่คิดรับ   ยกโยนกลับตนปลีก แล้วหลีกถอย
ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องรับรอย    ส่วนตัวลอยไม่ให้มีราคีเคือง
.........ประเภทแปด เลือกที่รักมักที่ชัง   คิดปลูกฝังพวกไว้ให้ฟุ้งเฟื่อง
ใครใกล้ชิดสนิทหน้าพารุ่งเรือง    ที่ขัดเคืองก็สลัดตัดหนทาง
.........ประเภทเก้า อาฆาตและจองเวร   จิตเขม่นผู้น้อยคอยกีดขวาง
ผิดครั้งเดียวจดจำไม่จืดจาง    มุ่งหักล้างจับผิดเป็นนิจกาล
.........ประเภทสิบ บำเหน็จหรือความชอบ   มักประกอบกรณีอันวิตถาร
ไม่พินิจตามร่องของราชการ    มุ่งประมาณว่าอารมณ์ว่าแต่สมควร
.........ประเภทสิบเอ็ด หูเบาเยาว์ปัญญา   เชื่อวาจาคำประจบจนเกินส่วน
ใครลิ้นลมคมคายผ่ายสำนวน    ก็ชักชวนเชื่อฟังไม่ลังเล
.........ประเภทสิบสอง อยากได้ผ่ายลาภผล   เห็นแก่คน จนราชการงานไขว้เขว
ชอบรีดเร้นรับรองของโมเม    ใครทุ่มเทผลให้ท่าน ท่านชอบเอย


ที่มา : ‘งานวิจัยของบริษัททาวเวอร์ส วัทสัน เกี่ยวกับผู้บริษัทชั้นนำระดับโลก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น